ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

มาตรา ๑๕๗ ป.อาญา

จะกล่าวหาใครว่าปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบจะต้องอย่างไรจึงจะไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม...ดูทางนี้




ปัญหาข้อที่ มีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยที่ และที่ ฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ปัญหาข้อนี้เห็นควรแยกวินิจฉัยคำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ ก่อน คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น หน้าที่ของจำเลยที่ จึงเป็นองค์ประกอบความผิดที่โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องให้เห็นหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ มีหน้าที่อย่างไรและจำเลยที่ ๓ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยมิชอบอย่างไร เพราะหากจำเลยที่ ไม่มีหน้าที่หรือกระทำนอกเหนือหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่ ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ ตอนแรกโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมและเป็นกรรมการตุลาการโดยตำแหน่งจึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายต่อจากนั้น โจทก์กล่าวว่าจำเลยที่ และที่ ร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้กล่าวว่าหน้าที่ของจำเลยที่ มีอย่างไรอีก และในตอนสุดท้ายโจทก์กล่าวลอย ๆว่าจำเลยที่ และที่ โดยความร่วมมือของจำเลยที่ และที่ ๔เพิกเฉยไม่ดำเนินการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งโจทก์เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑จนกระทั่งโจทก์เกษียณอายุราชการ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยที่ มีหน้าที่อย่างไร จำเลยที่ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นอย่างไร และเป็นการกระทำที่อยู่ในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ หรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของจำเลยที่ มาในคำฟ้องคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดของจำเลยที่ จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๕๘() เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย / คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541


 หมายเหตุ

       การที่กฎหมายกำนดให้เจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใดมีหน้าที่ก็เพราะกฎหมายเห็นว่าตำแหน่งที่คุณครองอยู่นั้นสำคัญสามารถเป็นตัวแทนของรัฐทำในนามรัฐและผูกพันรัฐได้ ซึ่งสามารถปฎิบัติภารกิจที่กฎหมายมอบให้จนสำเร็จลุล่วงได้ โดยความสำเร็จในภารกิจจะมีไม่ได้เลยถ้าคุณไม่มี "อำนาจหน้าที่" 
การบรรยายฟ้องโดยระบุภาระหน้าที่จึงสำคัญ ที่จะเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559



รวมคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการซื้อขาย บรรยายวันที่ 27 ตุลาคม 2559


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๑๔๙/๒๕๓๘

จำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนสิทธิกันตาม .ที่ดิน มาตรา4 ทวิ แต่การที่ผู้ร้องได้รับการครอบครองแล้ว ผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครองไปตามป... มาตรา 1377 และ 1378
เมื่อจำเลยผู้จำนองมิใช่เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปจำนอง เป็นการต้องห้ามตาม ... มาตรา 705 การจำนองจึงไม่มีผล โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่
การได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายและด้วยวิธีส่งมอบการครอบครองเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๑๔/๒๕๓๘  วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วน

โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้ว  เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๘๕/๒๕๓๑ อายุความตามมาตรา ๔๗๔

การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าที่จำเลยขายให้โจทก์ ซึ่งเกิดชำรุดขึ้นภายในระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบ เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มิใช่เป็นการฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย หรือเลิกสัญญากับจำเลยโจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๕๖/๒๕๓๙  อายุความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474บัญญัติไว้ว่าในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง"โจทก์พบเสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนเมื่อวันที่24สิงหาคม2532เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่29มีนาคม2532ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172(เดิม)ต่อมาวันที่16ธันวาคม2532โจทก์ติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่2ใช้งานจนถึงวันที่25ธันวาคม2532ปรากฎว่าเสื้อเกียร์ได้แตกเหมือนเดิมจำเลยที่1ได้รับคืนไปซ่อมอีกแล้วส่งคืนโจทก์เมื่อวันที่9สิงหาคม2533และมีการติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่3จากนั้นวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ได้ใช้เกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวใช้ได้ประมาณ2ถึง3วันเสื้อเกียร์ก็แตกอีกดังนี้แสดงว่าจำเลยที่1ยังไม่สามารถแก้ไขความชำรุดบกพร่องในจุดเดิมคือที่เสื้อเกียร์ของเกียร์ทดและอุปกรณ์นั้นให้โจทก์สามารถใช้งานได้ตามปกติอันเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายในสัญญาอายุความจึงยับคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้แต่จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1กลับปฎิเสธความรับผิดเมื่อวันที่28พฤศจิกายน2533จึงเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้องเริ่มนับอายุความเดิม1ปีใหม่ตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2533



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๐๖/๒๕๓๙ อายุความ ๑๐ ปี ไม่ใช่อายุความชำรุดบกพร่อง

คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงิน18,500บาทอันเป็นราคาเกียร์รถที่โจทก์ซื้อมาใหม่เนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายส่งเกียร์รถที่ชำรุดแล้วไม่ยอมซ่อมให้ทำให้โจทก์ต้องไปซื้อเกียร์รถมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายนั่นเองในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม


คำพิพากษาศษลฎีกาที่ ๓๒๑ถึง ๓๒๒/๒๕๓๘ สาระสำคัญอยู่ที่ข้อความ

การทำสัญญาจะใช้แบบพิมพ์สัญญาประเภทใดไม่ใช่ข้อสำคัญหากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความที่ทำกันไว้ในแบบพิมพ์สัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาประเภทใด  เมื่อสัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความที่เขียนไว้ว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา100,000บาทโดยโจทก์ได้ชำระราคาจำนวน72,000บาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยได้มอบที่พิพาทพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาสำหรับราคาค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยในภายหลัง จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาเช่าซื้อ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา171หมายถึงในกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้งอาจตีความได้หลายนัยจึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรแต่สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นสัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อจึงนำมาตรา171มาบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๒๖/๒๕๔๓ สัญญาจะซื้อจะขาย

สัญญาที่ผู้ตายต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้วเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากที่ดินของผู้ตายต้องห้ามไม่ให้โอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ผู้ตายก็หามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ จึงต้องคืนเงินราคาที่ดินแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังไม่ได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนผู้จัดการมรดกได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2535
ตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำที่ดินพิพาท โจทก์ผู้ซื้อได้วางเงินมัดจำซึ่งถือว่าเป็นการวางประจำตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1ผู้ขายกับพวกรับไปแล้ว ดังนี้ ม้สัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำจะใช้บังคับไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในสัญญาโดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือก็ตาม แต่ก็ได้มีการวางประจำไว้แล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ที่ดินพิพาททายาทยังปกครองร่วมกันอยู่ จำเลยที่ 7 และที่ 9ได้อยู่อาศัยบางส่วนในที่ดินโดยอาศัยสิทธิของบิดาของตนซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจากนาง . แม้ต่อมาบิดาของจำเลยที่ 7 และที่ 9ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 7 ที่ 9 ต่างก็อยู่ในฐานะรับมรดกจากบิดาของตนกรณีไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จำเลยที่ 7 ที่ 9 จึงอ้างสิทธิครอบครองโดยปรปักษ์ยันโจทก์ผู้ซื้อหาได้ไม่ การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497

ข้อตกลงในวิธีการชำระราคาและข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอดๆ ไม่ใช่ในท้องตลาดแม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1329 และ 1332 ไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2504 พิมพ์คำพิพากษา

การซื้อขายที่ดินมีโฉนดแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะชำระราคาเรียบร้อยแล้วและได้ยึดถือโฉนดครอบครองถือเอาประโยชน์จากที่ดินนั้นตลอดมาก็ตาม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อขายย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ฉะนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายย่อมมีสิทธิยึดที่ดินนั้นชำระหนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่12/2504)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21902/2527

โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน จำเลยขายบ้าน 2 หลัง และส่งมอบให้โจทก์เข้าครอบครองอาศัยตลอดมา โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายมาแต่แรกการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะและจะถือว่าการซื้อขายบ้านหลังที่ 2 ซึ่งโจทก์ยังค้างชำระเงิน เป็นสัญญาจะซื้อขายก็ไม่ได้ เพราะโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ซื้อบ้านจากจำเลยเด็ดขาดมาแต่แรกแล้วแม้การซื้อขายเป็นโมฆะแต่โจทก์ครอบครองบ้านหลังแรกอย่างเป็นเจ้าของถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์บ้านหลังแรกโดยการครอบครองปรปักษ์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131-1132/2533 สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกและมาตรา 115 ก็ตาม แต่พฤติการณ์เป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมทีโจทก์กับจำเลยได้รู้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทน การทำนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์ตามอย่างหลังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 กฎหมายไม่ได้บังคับว่าการโอนการครอบครองที่ดินต้องมีหนังสือมาแสดงกรณีนี้จึงนำพยานบุคคลมาสืบและศาลรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้.



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2527

การซื้อขายสัตว์พาหนะถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก เมื่อผู้ร้องซื้อโคของกลางซึ่งเป็นสัตว์พาหนะมา แต่การซื้อขายมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนมาเป็นของผู้ร้องทั้งผู้ร้องยังมิได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าของแท้จริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ที่จะขอให้ศาลสั่งคืนโคของกลางที่ถูกริบแก่ผู้ร้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4567/2528

ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน .. 3 เมื่อผู้ซื้อชำระราคาให้แก่ผู้ขายครบถ้วน แม้ผู้ขายจะได้มอบ .. 3 กับให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้ซื้อชำระราคางวดสุดท้ายแก่ผู้ขาย ผู้ขายแจ้งว่าจะไปโอนที่พิพาทให้ใน 1 เดือน แสดงว่าผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป  ฟังไม่ได้ว่าผู้ขายมีเจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ดังนี้การที่ผู้ซื้อยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมานั้น เป็นการยึดถือครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้ขายตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทนผู้ขายนั้นเอง การที่ผู้ซื้อครอบครองที่พิพาทแทนผู้ขายตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้ขายถึงแก่ความตาย ผู้ซื้อติดต่อทายาทให้ไปจัดการโอนที่พิพาท ทายาทปฏิเสธ ผู้ซื้อก็หาได้ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับทายาทให้โอนสิทธิครอบครองในที่พิพาทให้แก่ผู้ซื้อแต่อย่างใดสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงยังเป็นของทายาทผู้ขายผู้ซื้อเพียงแต่ครอบครองไว้แทนจนกว่าจะได้จดทะเบียนโอนกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทเป็นของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2530

โจทก์ทำสัญญาขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้จำเลยและได้มอบที่พิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาย่อมถือได้ว่ามีการส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้วจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแม้ต่อมาจะมีการทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดิน แต่จำเลยไม่ได้ส่งมอบการครอบครองคืนโจทก์ สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายถึงวันฟ้องเกินกว่า 1ปี โจทก์จึงหมดสิทธิในที่พิพาท



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1297/2533

โจทก์และสามีโจทก์ซื้อ ที่ พิพาทซึ่ง มี .. 3 จาก . โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะแต่ ที่พิพาทเป็นที่ดินยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ .ผู้ขายมีแต่ สิทธิครอบครอง เมื่อได้ ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์และสามีโจทก์แล้ว . ก็สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์และสามีโจทก์ย่อมได้ สิทธิครอบครอง ตาม ... มาตรา 1371378 มิใช่ได้ ตาม สัญญาซื้อขายดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้ จำเลยซึ่ง เป็นทายาทของ . ไปจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตาม สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ . .


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2539

แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง และจำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์โดยจำเลยตกลงซื้อเวลาออกอากาศที่สถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวก็ตาม แต่การตกลงเช่นนั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์  เพราะไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คงเป็นเพียงสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงในสถานีวิทยุกระจายเสียงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม แห่ง ... การที่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดมาแสดง ไม่มีการวางประจำ หรือไม่ได้ชำระหนี้บางส่วนไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2525

การซื้อขายที่ดินต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีว่าตั้งใจจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ หากไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาตกเป็นโมฆะ หากมีเจตนาดังกล่าว ก็เป็นสัญญาจะซื้อขายการชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะบังคับตามสัญญาซื้อขายได้ มื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาชัดแจ้งที่จะไม่นำการซื้อขายที่ดินพิพาทไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังอีก แต่โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นต่อไปโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลยจึงเป็นการซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2530

สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งไม่ได้ระบุว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มีข้อความชัดว่าให้เรียก . เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ว่าผู้ขาย เรียกโจทก์ว่าผู้ซื้อกับมีข้อความด้วยว่าผู้ขายได้ขายนาพิพาทให้ผู้ซื้อและยอมมอบนาให้ผู้ซื้อเสร็จตั้งแต่วันทำสัญญา แสดงว่าโจทก์กับ . มีเจตนาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะข้อตกลงแบ่งชำระราคาเป็นงวด ไม่ใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2544

บ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินในลักษณะตรึงตราถาวรนับได้ว่าเป็นส่วนซึ่งโดยสภาพเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป บ้านจึงเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2482

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตรา ๑๓ เป็นบทบัญญัติเพื่อสะดวกแก่การควบคุมของเจ้าพนักงาน ส่วนการซื้อขายไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องทำพิธีบางอย่างดังเช่น ในประมวลแพ่งฯ มาตรา ๔๕๖ ฉะนั้นกรรมสิทธิรถยนตร์ย่อมโอนไปยังผู้ร้องในขณะทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา ๔๕๘ ส่วนการที่ลงชื่อบุตร์ผู้ร้องในทะเบียนก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิเปลี่ยนแปลงไป จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2523

คำว่า "สัตว์พาหนะ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 นั้นหมายถึงสัตว์พาหนะตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะพ..2482 มาตรา 4 การที่โจทก์ขายโคให้จำเลยโดยที่การซื้อขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อโคที่ซื้อขายกันแต่ละตัวอายุไม่ถึง 1 ปี ไม่เข้ากรณีที่จะต้องขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ มาตรา 8(2) และ(5) และไม่ใช่โคที่ใช้ขับขี่ลากเข็นหรือใช้งานแล้วตามมาตรา 8(3) หรือเป็นโคที่เจ้าของได้นำไปจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณไว้แล้วอย่างนี้ โคที่โจทก์ขายให้จำเลยจึงมิใช่สัตว์พาหนะตามความหมายของกฎหมายการซื้อขายโคดังกล่าวโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 465วรรคแรก


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2533

สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท มีเงื่อนไขเฉพาะวิธีการชำระราคาให้ชำระเป็นเช็ค 2 งวด หากผิดเงื่อนไขยอมให้ผู้ขายยึดรถคืนได้โดยไม่ได้ระบุว่าให้กรรมสิทธิ์โอนไปเมื่อผู้ขายได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้ว เช่นนี้เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่วันทำสัญญา เงื่อนไขยอมให้ผู้ขายยึดรถคืนได้เป็นเพียงข้อกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาเท่านั้นโจทก์ผู้ซื้อรถยนต์พิพาทจากผู้ซื้อเดิมโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2546

ตามสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 2 มีข้อความระบุแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านได้ขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 320,000 บาทได้รับเงินมัดจำไว้ 170,000 บาท ส่วนที่เหลือ 150,000 บาท จะชำระในวันที่ 29มกราคม 2541 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีการแบ่งชำระราคาซื้อขายเป็น 2 งวดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 มิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ผู้คัดค้านจึงมิใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2534
กรมสารบรรณทหารซื้อแบตเตอรี่จากโจทก์และฝากแบตเตอรี่ ที่ซื้อ ไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยังมิได้กำหนดแบ่งแยกไว้แน่นอนว่าจะขายแบตเตอรี่หม้อใดให้กรรมสิทธิ์ในแบตเตอรี่จึงยังไม่โอนไปยังกรมสารบรรณทหารตาม ... มาตรา 460 เมื่อแบตเตอรี่ยังเป็นของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จำเลยจะปฏิบัติตามวิธีที่มีการปฏิบัติกันมาก่อน แต่เมื่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยก็จะอ้างเอาการปฏิบัติดังกล่าวซึ่งผิดต่อระเบียบปฏิบัติที่โจทก์วางไว้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ โจทก์เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้โจทก์จะรู้เรื่องละเมิดก่อน วันที่21 พฤษภาคม 2525 แต่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและ พิจารณาหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และได้เสนอความเห็นไปยัง ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแจ้งให้ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบ เมื่อ วันที่ 19ธันวาคม 2526 ถือได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยพึงต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2526 โจทก์ฟ้อง จำเลยเมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2527 ยังไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541

โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท . ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท .ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท . ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท . เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท . หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ของบริษัท . มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท . ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท . ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท . ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่ากรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือกกับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท .ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท . ก็ได้ การที่บริษัท . ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท . ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท . จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท . ในต่างประเทศ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2529
ตามสัญญาซื้อขายโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำให้จำเลยภายในวันที่3กุมภาพันธ์2521โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำให้จำเลยตอนแรกในเดือนกุมภาพันธ์2521แต่เครื่องสูบน้ำใช้การไม่ได้โจทก์ต้องรับคืนไปแก้ไขและมาส่งให้จำเลยในวันที่16ตุลาคม2521ดังนี้การส่งมอบเครื่องสูบน้ำของโจทก์คือการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายตามสัญญานั้นโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนและต้องเป็นเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เมื่อเครื่องสูบน้ำใช้งานไม่ได้โจทก์จะบังคับให้จำเลยรับไว้ไม่ได้การที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำมาให้จำเลยในตอนแรกยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบเมื่อวันที่16ตุลาคม2522เป็นการส่งมอบล่าช้าจำเลยเรียกเบี้ยปรับได้ เบี้ยปรับนั้นศาลมีอำนาจลดได้เองตามป...มาตรา383 เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันใดแล้วจำเลยมิได้โต้แย้งศาลฎีกาก็ให้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวการแจ้งขอหักกลบลบหนี้นั้นไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนว่าจะไม่ต้องชำระดอกเบี้ย ภาษีหักณ ที่จ่ายตามป.รัษฎากรมาตรา69นั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีอำนาจดำเนินการได้เองอยู่แล้วศาลไม่จำต้องพิพากษาให้.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่าจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์เนื้อที่ประมาณ272ตารางวาแต่จำเลยที่1มีเนื้อที่อยู่เพียง1งาน44ตารางวาซึ่งน้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่งการที่จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้โจทก์จึงเป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466 โจทก์ขอให้บังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาโดยขอให้จำเลยทั้งสองไปแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่พิพาทกันใหม่ทั้งที่จำเลยที่2มิได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ด้วยจึงเป็นการบังคับจำเลยที่2ซึ่งมิใช่คู่สัญญาหรือเป็นบุคคลภายนอกให้ปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ด้วยไม่อาจกระทำได้ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่1ตามสัญญาถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466วรรคสองแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยที่1จึงต้องคืนมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยได้รับไว้ ค่าเสียหายจำนวน1,500,000บาทที่โจทก์เรียกร้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเมื่อเหตุที่จำเลยที่1ส่งมอบที่ดินที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้เพราะเนื่องมาจากโจทก์คิดคำนวณเนื้อที่ไม่ถูกต้องเองจึงมิใช่ความผิดของจำเลยที่1จำเลยที่1มิใช่เป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่1ได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้วจึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่2จะต้องไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยที่2เป็นทางเดินให้โจทก์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545

ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย  ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากโจทก์ จำเลยได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้ว ซึ่งสามารถใช้การได้ดี แสดงว่าเครื่องผลิตไอศกรีมดังกล่าวมิได้มีความชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบ ดังนั้น การที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก .คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใดซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้หาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ โจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิ การทหารอากาศตามคำสั่งของ จำเลยที่ 2 กรมพลาธิ การทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้อง แล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันที่ 30 กันยายน2529 เช่นเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟองให้จำเลยทั้งสองชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2530
โจทก์ซื้อรถคันพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยชำระราคาบางส่วนและได้กรรมสิทธิในรถคันพิพาทแล้ว แต่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ยึดรถไปเพราะโจทก์ยังชำระราคารถคันดังกล่าวไม่ครบตามสัญญา และหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งครอบครองรถคันพิพาทอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิยึดหน่วงรถคันดังกล่าวไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 และมาตรา 468



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2538

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังจำเลยแล้ว แต่หากจำเลยยังชำระราคาที่ดินให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ก็เป็นเรื่องที่จำเลย ไม่ชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้จำเลยชำระราคาที่ยังค้างชำระให้โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลานั้นได้ และถ้าจำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 และเมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกที่ดินคืนจากจำเลยตามมาตรา 391


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2545

ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่ารถยนต์ที่จำเลยขายให้โจทก์มีความชำรุดบกพร่องของระบบเกียร์อันเป็นวัสดุที่จำเลยรับประกันไว้ว่าจะซ่อมหรือเปลี่ยนให้ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ให้โจทก์ใหม่เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์กลับขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนเท่ากับราคารถยนต์พิพาทที่โจทก์ซื้อไปจากจำเลยหรือให้จำเลยนำรถยนต์คันใหม่ที่มีลักษณะเหมือนรถยนต์พิพาทและมีสภาพใช้งานได้ดีมาเปลี่ยนให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากที่จำเลยได้รับประกันไว้ โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงรับประกันดังกล่าวได้จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2538
บัตรรับประกันในการซื้อขายรถมีข้อยกเว้นความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อสาเหตุไฟลุกไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ของรถยนต์คันพิพาทได้รับความเสียหายมิได้เกิดจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่นในถนนแม้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของโจทก์และจำเลยแต่มิใช่เกิดจากอุบัติเหตุ จำเลยจึงต้องรับผิด แม้ในบัตรรับประกันจะระบุว่าโจทก์จะต้องนำรถมาซ่อมที่ห้างจำเลยเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปจอดไว้ที่ห้างจำเลยเพื่อซ่อมจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับผิดอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุโจทก์จึงต้องนำรถยนต์คันพิพาทไปจ้างบริษัทอื่นซ่อมดังนี้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าซ่อมแก่โจทก์ ค่ายกเครื่องค่าเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าค่าเคาะพ่นสีค่ายกรถและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีการซ่อมและเปลี่ยนใหม่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องยนต์และเป็นส่วนประกอบเพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆดังกล่าวไม่ถือว่าอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของการรับประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533

โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอส มะเขือเทศ จากจำเลยเมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลย อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(2) ไม่
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545
ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ... มาตรา 572 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะนำสัญญาซื้อขาย หรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนที่ผู้ซื้อจะรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากผู้ขาย ผู้ซื้อได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้วปรากฏว่าเครื่องสามารถใช้การได้ดี ฉะนั้น ที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังอันเกิดจากการใช้งาน ผู้ขายหาต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ ผู้ซื้อจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังได้ได้ชำระตามมาตรา 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2524

การตกลงซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นการซื้อขายธรรมดามิใช่กรณีซื้อขายตามตัวอย่าง เมื่อจำเลยผู้ซื้อได้ตรวจดูสินค้าที่ตกลงซื้อขายแล้วพอใจรับไว้ ก็ถือได้ว่าเป็นการซื้อขายบริบูรณ์แล้ว จำเลยก่อความชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลัง จำเลยต้องชำระค่าสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2524
ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขายที่มีขึ้นภายหลังการส่งมอบ ดังนั้นผู้ซื้อจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533
โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอส มะเขือเทศ จากจำเลยเมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลย อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(2) ไม่
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9653/2539
โจทก์ส่งกระดาษให้แก่จำเลยมีน้ำหนักไม่ถูกต้องตามขนาดที่ตกลงกันไว้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ตกลงกันตามสัญญาถือได้ว่าโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป ฎีกาโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยตามฟ้องแย้งซึ่งเป็นเรื่องความชำรุดบกพร่องขาดอายุความแล้วหรือไม่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่ากรณีพิพาทในคดีนี้เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2540
การเรียกคืนเงินส่วนที่ชำระเกินในกรณีโจทก์ส่งมอบ สินค้าไม่ถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายเป็น เรื่องที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริง แห่งมูลหนี้ หาใช่เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติ เรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะอายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544

ความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการที่ผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าวบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิคอนไม่ทั่วทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาได้นั้น เป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ เมื่อมีน้ำฝนตกหนักน้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่องดังกล่าว แม้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบแล้ว ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลดังกล่าวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์หาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท . เข้าไปตรวจสอบจึงเป็นการกระทำที่สมควร จะถือว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องแล้วแต่เวลานั้นยังไม่ได้ เมื่อต่อมาบริษัท . ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าวคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2545

ตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่ามีความชำรุดบกพร่องของระบบเกียร์อันเป็นวัสดุที่จำเลยรับประกันไว้ว่าจะซ่อมหรือเปลี่ยนให้ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ให้โจทก์ใหม่เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติเท่านั้น แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์กลับขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 438,000 บาท เท่ากับราคารถยนต์พิพาท หรือให้จำเลยนำรถยนต์คันใหม่ที่มีลักษณะเหมือนรถยนต์พิพาทและมีสภาพใช้งานได้ดีมาเปลี่ยนให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากที่จำเลยได้รับประกันไว้โจทก์ไม่อาจบังคับจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงรับประกันดังกล่าวได้ จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2538
ที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ที่1บางส่วนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะจึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจซื้อขายกันได้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะเท่ากับว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวกับโจทก์ที่1จึงไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวที่จำเลยจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2538
จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา475แม้จะไม่ทราบถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตามและเมื่อโจทก์จำต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา481แต่มีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2538
ที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ที่1บางส่วนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะจึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจซื้อขายกันได้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ เท่ากับว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวกับโจทก์ที่1จึงไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวที่จำเลยจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2538
จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการ รอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 475แม้จะไม่ทราบถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตาม และเมื่อโจทก์จำต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไป เพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมา ความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา481แต่มีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30
เห็นว่า แม้ มาตรา 481จะ เป็น เพียง มาตรา เดียว ที่ บัญญัติ ไว้ ใน เรื่อง อายุความ ฟ้องร้องเกี่ยวกับ การ รอนสิทธิ แต่ มาตรา นี้ ก็ เป็น บทบัญญัติ ที่ ห้าม มิให้ ฟ้องคดี ใน ข้อ รับผิด เพื่อ การ รอนสิทธิ เมื่อ พ้น กำหนด สาม เดือน เฉพาะ กรณีที่ ผู้ขาย ไม่ได้ เป็น คู่ความ ใน คดี เดิม ประการ หนึ่ง ผู้ซื้อ ได้ ประนีประนอม ยอมความ กับ บุคคลภายนอก ประการ หนึ่ง หรือ ยอม ตาม ที่ บุคคลภายนอกเรียกร้อง ประการ หนึ่ง การ ยอม ตาม ที่ บุคคลภายนอก เรียกร้อง นั้น จะ ต้องเป็น การ ยอม โดย สมัครใจ หาใช่ เป็น เรื่อง ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึดรถยนต์ พิพาท ไป ด้วย อำนาจ ของ กฎหมาย ซึ่ง โจทก์ จำต้อง ยอม ให้ ยึดมิฉะนั้น โจทก์ อาจ ต้อง มี ความผิด ใน ทางอาญา ความรับผิด ของ จำเลย ไม่อยู่ใน บังคับ อายุความ ฟ้องร้อง ตาม มาตรา 481 ดังกล่าว แต่ ต้อง อยู่ใน บังคับ อายุความ ตาม มาตรา 193/30 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่ง มี กำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2535
โจทก์ตกลงซื้อรถพิพาทจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยทั้งสองโอนรถพิพาทให้กับโจทก์นั้น บริษัทสยามกลการ จำกัด เป็นเจ้าของรถพิพาท มิใช่จำเลยทั้งสอง ต่อมารถพิพาทถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไปเป็นของกลางเพื่อคืนให้แก่เจ้าของเดิม ถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว
รถพิพาทถูกยึดไปทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้รถพิพาทได้ นับได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้นับตั้งแต่วันที่รถพิพาทถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไป และสามารถคิดดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนแต่อย่างใด
โจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะคาดคิดได้ว่าถ้าโจทก์ไม่ยอมให้ยึดรถพิพาท โจทก์อาจจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม กรณีหาใช่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งมีอายุความ 3 เดือนดังที่บัญญัติไว้ใน ป... มาตรา 481 ไม่ ต้องใช้อายุความธรรมดา 10 ปี ตามมาตรา 164


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2535
โจทก์กับสามีโดยชอบด้วยกฎหมายร่วมกันออกเงินซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลย และสามีโจทก์ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมแก่โจทก์เพื่อฟ้องจำเลย แต่ปรากฏจากเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์และการโอนทะเบียนรถยนต์ว่า สามีโจทก์เท่านั้นที่ทำสัญญาเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาท โจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดในการรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท
….. แต่ปรากฏจากเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์และการโอนทะเบียนรถยนต์อันได้แก่ บันทึกการขายรถยนต์ ใบเสร็จรับเงินชำระราคารถ และใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ตามเอกสารหมาย ..9 ..10 และ ..11 ซึ่งเป็นพยานหลักฐานต่าง ๆของโจทก์เองว่านายสมพงษ์สามีโจทก์เท่านั้นที่ทำสัญญาเป็นผู้ซื้อรถยนต์คันพิพาทไปจากจำเลย โจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์ประการใดกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับการรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายรถยนต์คันพิพาท ….
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476 จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2534
กรณีที่ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482(1) นั้น จะต้องได้ความว่าผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง รถยนต์พิพาทถูกยักยอกมาและได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ติดตามยึดรถไปจากโจทก์ผู้ซื้อด้วยอำนาจของกฎหมาย โดยจำเลยผู้ขายมิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปนั้นเป็นความผิดของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาข้อยกเว้นการรับผิดในการรอนสิทธิตามข้อกฎหมายที่อ้างมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2539
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์เท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายว่า จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นให้แก่โจทก์ได้ จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 240,000 บาท คืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ 3 เดือน ตามมาตรา 481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2540
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญารับรองกับโจทก์ว่าไม่มีการรอนสิทธิ โดยโจทก์มิได้ฟ้องร้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเพราะการรอนสิทธิ การฟ้องร้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือบทบัญญัติอายุความทั่วไปคือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2538 
ที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ที่1บางส่วนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะจึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจซื้อขายกันได้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะเท่ากับว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวกับโจทก์ที่1จึงไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวที่จำเลยจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2514
ในการขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อเอาเงินชำระค่าปรับฐานผิดสัญญาประกันมีทรัพย์ 3 รายการ รวมทั้งทรัพย์รายพิพาทด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาบอกขายเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าสู้ราคาได้โดยเปิดเผยแล้ว เวลาขายทรัพย์อีก 2 รายการนั้น มีผู้เข้าสู้ราคา 2 - 3 คน แต่เมื่อขายทรัพย์รายพิพาทมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว เมื่อไม่มีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกแล้ว ผู้สู้ราคาคนเดียวนี้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด ศาลย่อมอนุญาตให้ขายให้แก่ผู้สู้ราคานี้ได้เมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรแล้ว แม้จะมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็จะถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายพิพาทนี้ ไม่เป็นไปตามวิธีการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513, 514หาได้ไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533

ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน 550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกองผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก100,000 บาท เป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้านหลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538

แม้จำเลยที่1ซึ่งสังกัดจำเลยที่2มิใช่กรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ยึดมาเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระภาษีเงินได้ที่โจทก์ค้างชำระจำเลยที่1ก็ มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการ ขายทอดตลาด เมื่อได้เสนอจำเลยที่3แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดโดยล้วนแต่เป็น ข้าราชการในบังคับบัญชาของจำเลยที่1ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำในนามของจำเลยที่2ต้องถือว่าจำเลยที่1เป็น ผู้ทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา511จึงต้องห้าม เข้าสู้ราคาซื้อที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2531

การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ขายตามคำสั่งศาล โจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะคดีมิใช่เป็นผู้ขาย จึงไม่ต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตามมาตรา 512 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2532
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองหรือใช้ ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคานั้น หมายถึงผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่นำออกขายทอดตลาดจะเข้าสู้ราคาเอง หรือใช้ ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคามิได้ จทก์มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด แต่ เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมจะเข้าสู้ราคาเองหรือให้บุตรภริยาหรือญาติของตน เข้าสู้ราคาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2529
จำเลยที่1ส่งมอบฝ้ายปุยที่โจทก์สั่งซื้อต่ำกว่าคุณสมบัติของฝ้ายตามตัวอย่างให้โจทก์โจทก์จึงฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาเป็นการฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินประกันเนื่องจากการที่จำเลยที่1ส่งมอบของไม่ตรงตามตัวอย่างต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา504อันมีอายุความ1ปีนับแต่เวลาส่งมอบกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามมาตรา164ซึ่งมีกำหนดอายุความ10ปีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบฝ้ายปุยไม่ตรงตามตัวอย่างคดีโจทก์จึงขาดอายุความ.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2539

การขายตามคำพรรณนาคือการขายที่ผู้ซื้อไม่ได้เห็นหรือตรวจตราทรัพย์สินที่ขาย แต่ตกลงซื้อโดยเชื่อถึงคำบรรยายถึงลักษณะรูปพรรณสัณฐานและคุณภาพของทรัพย์สินนั้นตามที่ผู้ขายบอกหรือบรรยายไว้และแม้บางกรณีผู้ซื้อจะได้เห็นทรัพย์สินนั้นแล้วแต่หากยากแก่การที่จะตรวจตราถึงคุณภาพได้และผู้ซื้อตกลงซื้อโดยอาศัยคำบรรยายของผู้ขายเป็นหลักก็เป็นการขายตามคำพรรณนาเช่นกัน จำเลยโฆษณาเสนอขายที่ดินในโครงการของจำเลยโดยมีหนังสือชี้ชวนและแผนผังแสดงที่ตั้งโครงการรวมทั้งการแบ่งแยกที่ดินแปลงย่อย โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทเพราะเชื่อตามที่จำเลยได้โฆษณาไว้ เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงได้ระบุไว้ในสัญญาว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนั้นปรากฏตามแผนผังที่ดินท้ายสัญญาที่ได้ทำเครื่องหมายไว้โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา จึงถือได้ว่าเป็นการขายตามพรรณนา เมื่อต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงแผนผังของโครงการโดยย้ายทางเข้าออกมาไว้ทางด้านตะวันออกทำให้อยู่ห่างจากที่ดินแปลงของโจทก์ถึง 1,200 เมตรย้ายศูนย์กีฬาและศูนย์อำนวยความสะดวกอื่น ไปอยู่ห่างออกไปถึง 1,700 เมตร จึงไม่ตรงตามคำพรรณนา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญามิได้เป็นเรื่องที่จำเลยส่งมอบทรัพย์สินให้โจทก์ตรงตามสัญญา แต่เกิดชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินดังกล่าวจะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 มาใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2537

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าในเขตแนวถนนที่จำเลยมีข้อตกลงตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์และตามแผนผังที่ได้โฆษณาไว้ในแนวถนน 2 เมตร ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังข้ออ้างของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยโดยเชื่อคำโฆษณา จึงเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายตามคำพรรณา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายให้ตรงตามคำพรรณนา

หมายเหตุ

ขายตามคำพรรณนา บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 503 วรรคสอง ว่า "ในการขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา"
คำพรรณนา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความว่ากล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ ดังนั้นในการซื้อขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจะต้องบรรยายถึงรูปพรรณสันฐานและคุณภาพของทรัพย์สินที่จะขายและผู้ซื้อตกลงที่จะซื้อทรัพย์สินตามที่ผู้ขายได้พรรณนาไว้ จึงจะเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา และองค์ประกอบสำคัญอีกข้อหนึ่งคือผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้ได้วินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยโดยเชื่อตามคำโฆษณา จึงเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา น่าพิจารณาว่าการโฆษณานี้เป็นคำพรรณนาของผู้ขายหรือไม่เมื่อพิเคราะห์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่าโฆษณาว่า การเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน การป่าวร้องการป่าวประกาศ เช่น โฆษณาสินค้า จะเห็นได้ว่าคำพรรณนาและโฆษณาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมีความหมายไม่เหมือนกันนอกจากนี้ศาลฎีกาก็เคยวินิจฉัยไว้ถึงความแตกต่างของคำสองคำนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2524 การซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายโดยผู้ซื้อเชื่อคำบรรยายถึงลักษณะรูปพรรณสันฐานและคุณภาพของทรัพย์สินการอวดอ้างคุณสมบัติของทรัพย์สินเป็นการโฆษณาสินค้าของผู้ขายเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดแห่งคำรับรองเป็นกิจจะลักษณะถึงขนาดที่จะเป็นการขายตามคำพรรณนา
มีข้อพิจารณาว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้จะทับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2524 หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่าคำพิพากษาทั้งสองฉบับน่าจะไม่ทับกัน โดยคำพิพากษาที่หมายเหตุนี้โจทก์ผู้ซื้อได้ดูคำโฆษณาแล้วได้ไปติดต่อกับจำเลย ได้รับคำยืนยันจากจำเลยอีกจึงเข้าทำสัญญากับจำเลย มิใช่เป็นการเชื่อคำโฆษณาอย่างเดียวจึงเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา ซึ่งศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ว่าการซื้อขายตามแค๊ตตาล๊อคและคำพรรณนาเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2500)
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง การซื้อขายตามคำพรรณนานั้นผู้ขายจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันคือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำเลยผู้ขายจึงมีหน้าที่ส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ตรงตามข้อกำหนด แต่ไม่ปรากฏว่า โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในเรื่องที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมาโต้เถียงกันในเรื่องทางเข้าออกสู่ซอยสาธารณะซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์สินที่ซื้อขายกันจึงมีข้อสงสัยว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้จะวินิจฉัยนอกเหนือไปจากตัวบทกฎหมายหรือไม่หากจะแปลความตรงตามตัวอักษรโดยมิได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์และวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าไปในยุคโลกาภิวัฒน์แล้วอาจจะมองไปในแง่นั้นได้ ผู้เขียนเห็นว่าการที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าการซื้อขายตามคำพรรณนานั้นแม้ทางที่เข้าออกจะมิใช่ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อขายตามคำพรรณนา จึงเป็นการตีความโดยอุดช่องว่างของกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจึงชอบด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมายแล้ว
ศิริชัย วัฒนโยธิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2537
จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย ค่าเสียหายหรือค่าเก็บรักษาสินค้าซึ่งล้วนเป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์จะต้องรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามคำพรรณนาซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ

......พิเคราะห์แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504บัญญัติว่า ในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่างหรือไม่ตรงตามคำพรรณนานั้น ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยก็ดี ค่าเสียหายก็ดี หรือค่าเก็บรักษาสินค้าก็ดี ล้วนเป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์จะต้องรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามคำพรรณนาซึ่งเป็นกรณีที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ การที่จำเลยฟ้องแย้งคดีนี้เมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ"
พิพากษายืน....

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2532

สินค้าพิพาทเป็นสินค้าที่เสียหายเนื่องจากน้ำท่วมและกองรวมไว้ในโกดังโดยมิได้จำแนกว่าเสียหายมากน้อยเป็นจำนวนเท่าใด ในการซื้อขายสินค้าพิพาทดังกล่าวทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อต่างมิได้ยึดถือเอกสารที่ระบุถึงรายการสิ่งของที่ได้รับความเสียหายเป็นข้อสำคัญ ากประสงค์จะซื้อขายสินค้าทั้งหมดที่กองไว้นั้นในลักษณะขายเหมาเมื่อจำเลยประมูลซื้อได้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าทั้งหมดตกเป็นของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเสียหายเพิ่มเติม จำเลยมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์จนครบ.(ที่มา-ส่งเสริม)

“  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'ข้อเท็จจริงที่รับกันในเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อเดือนกันยายน 2526 ฝนตกน้ำท่วมโกดังสินค้าของบริษัทโอเรียนตัลสยาม (1978) จำกัด สินค้าที่เก็บไว้ภายในโกดังเสียหาย โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทโอเรียนตัลสยาม (1978) จำกัด ครบถ้วนแล้ว โจทก์รับเอาสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์นมผงและเคมีภัณฑ์ที่เสียหายจากน้ำท่วมดังกล่าวไว้ปรากฎตามรายการสิ่งของที่ได้รับความเสียหายเอกสารหมาย . 9หรือ . 1 หรือ . 19 และนำสินค้าดังกล่าวออกขายทอดตลาด จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อได้ในราคา 750,000 บาท โจทก์ตกลงขายสินค้าดังกล่าวให้จำเลย จำเลยชำระราคาสินค้าจำนวน 400,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้วส่วนที่เหลืออีกจำนวน 350,000 บาทจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาคลองเตย หมายเลข 0395144 ลงวันที่ 24ตุลาคม 2526 จำนวนเงิน 350,000 บาท ตามเช็คเอกสารหมาย . 4 แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดการจ่ายเงิน โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายตามใบคืนเช็คเอกสารหมาย . 10 มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์หรือไม่...ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์ได้ทำการประมูลขายสินค้าพิพาทโดยมีรายการสิ่งของที่ได้รับความเสียหายเอกสารหมาย . 9 หรือ . 1 หรือ . 19 แจ้งให้ผู้ประมูลทราบ และให้ผู้ประมูลไปตรวจดูสินค้าที่จะประมูลซึ่งกองรวมไว้ในโกดังเก็บสินค้าก่อนวันประมูล ศาลฎีกาเห็นว่าสินค้าพิพาทเป็นสินค้าที่เสียหายเนื่องจากน้ำท่วมและกองรวมไว้ในโกดังโดยมิได้จำแนกว่าสินค้าเหล่านั้นเสียหายมากน้อยเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด เมื่อโจทก์ได้ให้ผู้ประมูลไปตรวจดูสินค้าก่อนที่จะทำการประมูล ย่อมแสดงว่าโจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะยึดถือรายการสิ่งของที่ได้รับความเสียหายที่ระบุในเอกสารหมาย . 9 หรือ . 1 หรือ . 19 เป็นข้อสำคัญ หากประสงค์จะขายสินค้าทั้งหมดที่กองไว้นั้น ทั้งก่อนที่จำเลยจะประมูลซื้อ จำเลยก็ทราบถึงจำนวนและมูลค่าของสินค้าพิพาทเป็นอย่างดีแล้ว จึงทำใบเสนอซื้อเข้าประมูลราคา ซึ่งแสดงว่าจำเลยซื้อสินค้านั้นโดยมิได้เชื่อและยึดถือจำนวนสินค้าตามรายการเป็นข้อสำคัญเช่นกัน การขายสินค้าพิพาทจึงเป็นการขายสินค้าที่เสียเนื่องจากน้ำท่วมทั้งหมดในโกดังแบบขายเหมาเมื่อจำเลยประมูลซื้อได้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าทั้งหมดตกเป็นของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเสียหายเพิ่มเติมทำให้ขาดจำนวนเพราะโยนทิ้งไปดังที่โจทก์นำสืบ จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์จนครบที่จำเลยอ้างว่าได้สินค้าไม่ครบตามรายการที่ประกาศ จำเลยมีสิทธิไม่ชำระราคาได้นั้น ฟังไม่ขึ้น เมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระราคาหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดชำระเงิน 350,000 บาทแก่โจทก์...'
พิพากษายืน.


คำพิพากษาศษลฎีกาที่ ๑๓๓/๒๕๔๕
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณได้ ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือ ที่ดิน ๑๐๗ ตารางวา แต่ในส่วนของราคาให้เพิ่มหรือลดได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1() ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1() ในอัตราร้อยละ 2.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดิน คืนได้ภายใน 10 ปีดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกัน ไม่ใช่สัญญาขายฝาก หรือนิติกรรมอำพรางแต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจาก จำเลยได้ภายใน 10 ปีเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456วรรคสองจึงมีผลผูกพัน คู่กรณีใช้บังคับกัน ได้

“  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย .1 มีรายละเอียดข้อตกลงไว้ครบถ้วนมีทั้งกำหนดเวลาที่ให้โจทก์ที่ 2 ซื้อคืน ราคาที่จะซื้อคืน เท้าความถึงสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นก่อนคือเอกสารหมาย .1 ไว้ด้วย บรรทัดบนของสัญญาใช้หัวข้อว่า"สัญญาประนีประนอม" สัญญาเอกสารหมาย .1 จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพรางและข้อกำหนดที่ให้โจทก์ที่ 2 มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปีจึงมีผลสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราา 456 วรรคสอง จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้ไม่ใช่สัญญาขายฝากตามกฎหมาย....”
พิพากษายืน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2541
การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก .ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ .เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ . และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ . และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า .ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ . ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง . กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท . ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก . ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับ . มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2497

ขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่ญาติกัน โดยตกลงกันด้วยปากเปล่า ก่อนทำหนังสือสัญญาซื้อขายว่า ภายใน 10 ปีผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ ถือว่าการตกลงด้วยปากเปล่าดังนี้เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนแล้ว ข้อตกลงเช่นนี้ ก็สูญเปล่าไม่มีผลบังคับแก่กันได้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันในภายหลังนั้น จึงสำเร็จเด็ดขาดไป แต่เมื่อปรากฎว่าต่อมาอีก 2 ปีเศษ ผู้ซื้อกับผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญากันอีก ให้คำมั่นสัญญาว่า ที่ดินและโรงเรือนรายนี้จะไม่ขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันซื้อขาย ผู้ขายมีเงินจะซื้อกลับผู้ซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันเซ็นสัญญา ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นคำมั่นจะขายตาม ..แพ่งฯมาตรา 456 วรรค 2 ผู้ขายเดิมจึงมีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาใหม่นี้ได้


“   ศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยปากก่อนการทำหนังสือสัญญาซื้อขายหมาย . ว่าภายใน ๑๐ ปี ยอมให้โจทก์มีสิทธิไถ่คืนได้นั้น ลักษณะเป็นทำนองขายฝาก แต่การตกลงกันทั้งนี้เพียงแต่พูดกันด้วยปากเปล่า ข้อตกลงเช่นว่านี้ จึงสูญเปล่า ไม่มีผลอันจะบังคับแก่กันได้ สัญญาซื้อขายหมาย . จึงสำเร็จเด็ดขาดไป โดยไม่มีภาระอื่นผูกพัน แต่หลังจากการขายกันไปแล้ว ปีเศษ จำเลยกลับไปทำหนังสือสัญญาให้โจทก์อีกฉบับหนึ่ง คือเอกสาร . ให้คำมั่นสัญญาว่า ที่ดินและโรงเรือนรายนี้จะไม่ขายให้คนอื่น และภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์มีเงินจะซื้อกลับ จำเลยยินยอมขายกลับให้ตามราคาซื้อที่ระบุในข้อ คือ ๓๐๐๐๐ บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมาย ดังนี้ สัญญาฉะบับนี้จึงเป็นคำมั่นจะขาย และได้ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชอบด้วย ..แพ่งฯมาตรา ๔๕๖ วรรค โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาได้...”
จึงพิพากษายืน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2507
น้องชายของจำเลยถูกโจทก์กล่าวหาว่าฉ้อโกงและถูกจับจำเลยได้ตกลงกับโจทก์เพื่อเลิกคดี แล้วไปหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนร่างสัญญาจะขายฝากเพื่อปลดหนี้น้องชายจำเลย โจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ มีข้อความว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินให้โจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วพนักงานสอบสวนเอาสัญญากู้กับสัญญาขายฝากที่น้องชายจำเลยทำให้โจทก์ไว้มาฉีกทิ้งแม้สัญญานี้จะไม่มีข้อกำหนดว่า จะไปทำหนังสือและจดทะเบียนเมื่อใด แต่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมต่างๆผู้รับซื้อฝากต้องออกเอง แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาทำสัญญาขายฝากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องมีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นสัญญาจะขายฝากซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529
แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2528
ก่อนทำสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกจำเลยไปสอบถามรายการตามที่ปรากฏในแบบฟอร์ม แสดงว่าจำเลยได้ทราบตั้งแต่ในขณะนั้นแล้วว่าเป็นการทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้าง ไม่ใช่การจำนอง เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการกระทำไปอย่างปกติธรรมดา มิได้เกิดจากการใช้กลฉ้อฉลหรือเป็นการกระทำอันเป็นการอำพรางการจำนองที่ดิน การสั่งรวมพิจารณาคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาเข้าด้วยกันนั้น แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ หากศาลชั้นต้นเห็นว่าการพิจารณาพิพากษาคดีเข้าด้วยกันจะเป็นการสะดวกแล้วก็มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้น และให้โอกาสคู่ความทั้งสองฝ่ายเลื่อนคดีไปเพื่อเตรียมรูปคดีให้พร้อม เป็นการกระทำที่ชอบแล้ว




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2528

จำเลยทำสัญญาขายฝากบ้านไว้แก่โจทก์โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเงื่อนไขว่าหากจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโจทก์มีสิทธิรื้อถอนเอาบ้านไปได้ดังนี้รูปเรื่องเป็นการขายฝากบ้าน ซึ่งบ้านยังคงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ตามเดิมจนกว่าจำเลยจะไม่ไถ่คืน และโจทก์ได้รื้อถอนเอาไปถ้าจำเลยไถ่คืนแล้วก็ไม่มีทางที่บ้านนั้น จะแปรสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไปได้ดังนี้ สัญญาที่ทำไว้จึงเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายไม้ที่ปลูกสร้างบ้าน ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เมื่อทำสัญญากันเองและมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 โจทก์จะนำมาฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 788/2497 และ 923/2485)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2533

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และคู่สัญญาเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่สัญญามิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ สัญญาขายฝากที่ทำกันเองจึงเป็นโมฆะ จำเลยผู้ซื้อฝากจะอ้างสิทธิการได้มาซึ่งการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองแทนผู้ขายฝาก จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ขายฝากถูกถอนคืนการให้ตกเป็นของโจทก์จำเลยจึงต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์

“   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยกให้แก่นางเวจบุตรสาวโดยเสน่หา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2525 นางเวจขายฝากที่ดินพิพาทนี้แก่จำเลยมีกำหนดไถ่ทรัพย์นั้นคืนภายใน2 ปี โดยจะไปจดทะเบียนกันภายในปี 2525 แต่ก็ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย .3นางเวจได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลย และจำเลยได้ทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมา นางเวจประพฤติเนรคุณต่อโจทก์โจทก์ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้ ครบกำหนดไถ่ทรัพย์ นางเวจไม่ได้ไถ่ ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการให้ที่ดินดังกล่าวให้นางเวจไถ่ถอนการขายฝากที่ดิน หากนางเวจไม่ไถ่ ให้โจทก์ไถ่ถอนแทนนางเวจได้ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์มีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ได้ความว่าที่ดินพิพาทนี้เป็นที่ดินมือเปล่าที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ทำสัญญาขายฝากกันเอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 บัญญัติว่า "อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้" และมาตรา 456 บัญญัติว่า "การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่าเป็นโมฆะ" ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ และคู่สัญญาเจตนาที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่สัญญามิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ สัญญาขายฝากเอกสารหมาย .3 จึงเป็นโมฆะ เมื่อสัญญาขายฝากนี้เป็นโมฆะแล้ว จำเลยย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาซึ่งการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากนั้น มิใช่ผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบให้โดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน และตามสัญญาขายฝากก็ไม่มีข้อความระบุว่าเมื่อครบกำหนด 2 ปีแล้วไม่ไถ่ จะให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยอำนาจของนางเวจผู้เป็นเจ้าของเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของนางเวจอยู่ เมื่อนางเวจถูกถอนคืนการให้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงตกมาเป็นสิทธิของโจทก์ และข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของโจทก์นายคำนวณ พันธ์มะลีบุตรโจทก์ซึ่งเป็นพยานโจทก์ว่า โจทก์ได้นำเงินจำนวน 15,000 บาทไปขอไถ่ที่ดินพิพาทคืน แต่จำเลยไม่ยอมรับ จึงนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ ศาลจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่29 กรกฎาคม 2526 รายละเอียดปรากฏตามคำร้องขอวางทรัพย์คดีหมายเลขดำที่ .3/2526 ของศาลชั้นต้นจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น....”


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2546

จำเลยอยู่ในที่ดินของวัดโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ . มารดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมจากวัดมาแต่ต้น แม้สัญญาเช่าระหว่าง . กับวัด ระงับไปแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดินมิใช่ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายใหม่ ซึ่งไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินตามสัญญาเช่ามาก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดิน

. ขายฝากบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของวัดแก่ . ภริยาโจทก์ แม้ระบุชื่อสัญญาว่าขายฝากเฉพาะสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหาสัญญาระบุขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ครั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน . อาศัยสัญญาขายฝากไปทำสัญญาเช่าที่ดินจากวัดทันทีโดย . รับซื้อฝากบ้านเพื่ออยู่อาศัย มิใช่รื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์จึงถือได้ว่าเป็นการขายฝากบ้านในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 491 . ไม่ใช่เจ้าของบ้าน เมื่อ . ถึงแก่กรรมโจทก์ซึ่งเป็นทายาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546

โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแต่ให้ . มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินกันโดย . ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตกลงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกันระหว่างโจทก์ . และจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้หลอกลวงเป็นกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ . จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อตกลงขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ไม่ยอมให้ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2529
เมื่อบ้านที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองและจะต้องส่งมอบบ้านแก่โจทก์ การที่จำเลยรื้อบ้านดังกล่าวจะเป็นการทำละเมิดด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาบ้านรวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้บ้านซึ่งโจทก์รับซื้อฝากไว้มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องถือว่ามีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นเรื่องละเมิดอย่างเดียวและมีอายุความเพียง 1 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2533

โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินทั้งแปลงแก่จำเลย แล้วไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด แม้เนื้อที่ที่ดินที่แท้จริงจะมากกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดิน จำเลยก็ย่อมได้ที่ดินพิพาทส่วนที่เกินกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นลาภมิควรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2533
จำเลยขายฝากที่ดินตาม ..3 ทั้งแปลงมีเนื้อที่ 12 ไร่ 3 งาน 25 ตารางวา ให้แก่โจทก์ โดยฟังไม่ได้ว่าเป็นสัญญาขายฝากอำพรางสัญญากู้ยืมหรือสัญญาจำนอง และไม่เป็นสัญญาขายฝากโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญประการใด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณเนื้อที่ตามหลักวิชาได้เนื้อที่ 22 ไร่ 2 งาน 91 4/10 ตารางวา โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว แม้เนื้อที่ดินจะเพิ่มขึ้นมากถึง 9 ไร่เศษ แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้ขายฝากส่งมอบทรัพย์สินมากไปกว่าสัญญาเพราะเป็นการขายฝากที่ดินทั้งแปลง จำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น หาทำให้ผลของสัญญาขายฝากที่ดินทั้งแปลงเปลี่ยนแปลงไปไม่ และไม่อาจเพิกถอนคืนที่ดินส่วนที่เกินไปให้จำเลย
จำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมา และที่ดินสวน โดยได้ใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยด้วย จำเลยจึงมิใช่ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าตามความหมายของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ..2524 จำเลยชายฝากที่ดินนาและที่ดินสวนแก่โจทก์มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเพียง 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ถอนโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2515
ก่อนครบกำหนดไถ่คืนการขายฝาก ผู้ขายได้ติดต่อขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนจากผู้ซื้อและนัดวันที่จะไปจดทะเบียนไถ่ถอนกันแล้ว แต่ผู้ซื้อไม่ไปตามนัด หลังจากนั้นผู้ขายได้พยายามติดต่อกับผู้ซื้ออีก แต่ไม่สามารถติดต่อได้ผู้ขายจึงไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้เป็นหลักฐานว่าผู้ขายพร้อมแล้วที่จะไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในกำหนดดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายได้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในกำหนดแล้วโดยชอบ ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องรับไถ่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 899/2495)
ผู้ซื้อนำทรัพย์ที่รับขายฝากไปโอนให้แก่ภริยาโดยเสน่หาทั้งๆ ที่ผู้ซื้อรู้อยู่ว่าผู้ขายยังมีสิทธิไถ่คืน ดังนี้ เป็นการฉ้อฉลอันทำให้ผู้ขายเสียเปรียบ ผู้ขายชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนให้นั้นเสียได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530
ามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิมทายาทผู้ขายเดิมผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามโจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2538

สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับบริษัทบ.ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น ผู้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัทบ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกัน แต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) จำเลยที่ 3 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ แต่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้

หมายเหตุ

1. คดีนี้ โจทก์สืบพยานบุคคลแก้ไขสัญญาซื้อขาย (เอกสารหมายจ.11) ที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยนำสืบแก้ไขจากที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระราคา ครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาให้สืบพยานบุคคลได้โดยให้เหตุผลว่า สัญญาซื้อขายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย .7 ซึ่งไม่ต้องห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเพราะสัญญาจะซื้อขายนอกจากทำเป็นหนังสือแล้วยังมีการวางมัดจำกันด้วย จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง อีกทั้งโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายกับจำเลย โจทก์จึงนำสืบเปลี่ยนแปลงได้จำเลยจึงยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
2. สัญญาจะซื้อขายที่มีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนเดิมถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายมิได้บังคับว่าการนำสืบต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486,2482 .391) แต่ต่อมาถือว่าคู่สัญญาประสงค์ที่จะผูกพันกันโดยหนังสือสัญญา การวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ถือเป็นการทำสัญญาด้วยการวางมัดจำจึงต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2492 ประชุมใหญ่ 2492 .900) หลังจากนั้นก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่กลับไปวินิจฉัยตามแนว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486อีกดังเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/25002500 .1795 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/25092509 .1911 กระทั่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง โดยกลับไปวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2492 และศาลฎีกาต่อมาวินิจฉัย โดยใช้แนวนี้มาจนถึงปัจจุบัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515 ประชุมใหญ่2515, .2137,คำพิพากษาศาลฎีกาที่1384/25232523.878,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/25262526 .2371, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/25282528 .1419, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9575/25282528.2589,คำพิพากษาศาลฎีกาที่581/25302530.465)
คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนไว้แล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงจึงไม่ตรงกับหลักกฎหมายตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ประชุมใหญ่ดังกล่าวข้างต้น ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาผู้บันทึกเห็นด้วยกับหลักกฎหมายตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ที่วินิจฉัยว่าสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะคู่สัญญาเจตนาทำสัญญากันเป็นหนังสือไม่ได้เจตนาทำสัญญาด้วยการวางมัดจำ เรื่องการวางมัดจำเป็นเพียงสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จะถือว่าศาลฎีกากลับไปใช้หลักเดิมตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486 อีกหรืออย่างไร คงต้องรอดูคำพิพากษาศาลฎีกาต่อ ไป
3. ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าชำระราคาครบถ้วนแล้ว จะสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่าสืบไม่ได้ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/25182518 .99 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/25242524 .1351, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/25272527.1040)
4. คดีนี้ศาลฎีกาให้เหตุผลประการหนึ่งว่า สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย .11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมายจ.9 เมื่อสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย .9 สามารถสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารได้แล้ว โจทก์ก็สามารถนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย .11 ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้บันทึกเห็นว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย .11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย .9 ไม่มีข้อโต้เถียง แต่การพิจารณาว่าสัญญาฉบับใดต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ น่าจะต้องพิจารณาแยกกัน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ แม้จะไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อกันมาก่อน และแม้จะมีการทำสัญญาจะซื้อขายมาแล้ว ก็ยังต้องมีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง
ดังนั้นหากจะพิจารณาว่าสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาเฉพาะเอกสารที่จะสืบแก้ไขว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ไม่น่าจะถือว่าแม้ตัวเอกสารที่จะสืบแก้ไขต้องห้ามตาม มาตรา 94 แต่ถ้าเป็นเอกสารที่สืบเนื่องจากเอกสารอื่นที่ไม่ต้องห้ามก็ทำให้เอกสารที่เดิมต้องห้ามสืบแก้ไข กลายเป็นสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเคารพผู้บันทึกจึงยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในส่วนนี้และเห็นว่าทั้งสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายในคดีนี้ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95
5. ศาลฎีกาวินิจฉัยอีกตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ก็ไม่ได้เป็นคู่สัญญาซื้อขาย
หลักห้ามสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนี้ มีเหตุผลว่าเมื่อสมัครใจทำสัญญาใดเป็นหนังสือแล้้ว ก็ต้องพิจารณาตามข้อความในหนังสือนั่นเอง (พระยาจิดาภิรมย์ภักดี, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2,2464 หน้า 112-113) กิจการที่ทำเป็นหนังสือนั้นผู้ทำได้แสดงเจตนาออกไว้แจ้งชัดแน่นอนและเด็ดขาดพร้อมด้วยมีความประสงค์ที่จะขจัดข้อสงสัยใด ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหน้าเมื่อเป็นการตกลงปลงใจของผู้ทำเช่นนี้ จึงตกอยู่ในข้อห้ามไม่ให้นำพยานบุคคลมาสืบให้ความเป็นอย่างอื่น (ศาสตราจารย์แอลดูปลาตร์,คำบรรยายกฎหมายลักษณะพยานและจิตตวิทยา,2477,หน้า 181) ถือว่าเป็นข้อห้ามเด็ดขาด (โสภณรัตนนากร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 1,2536 หน้า 199,เข็มชัยชุติวงศ์, กฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 4,2536,หน้า 198, พรเพชรวิชิตชลชัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน,พิมพ์ครั้งที่ 1,2536, หน้า 222) คู่ความจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้มาตรา 94 ห้ามคู่ความมิได้บัญญัติห้ามเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้นลองพิจารณาว่าหากในคดีหนึ่งมีคู่ความมากกว่า 2 ฝ่ายบางฝ่ายที่เป็นคู่สัญญาต้องห้ามมิให้สืบเปลี่ยนแปลง บางฝ่ายที่มิได้เป็นคู่สัญญากลับนำสืบเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเจตนาความประสงค์ของคู่สัญญาได้ ทั้งที่กฎหมายถือเป็นยุติว่า คู่สัญญามีเจตนาตามข้อความในเอกสารนั้นเช่นนี้แล้วข้อเท็จจริงตามเอกสารจะฟังยุติได้อย่างไรคงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ศาลมากด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกยังไม่เห็นด้วยและเห็นว่า ถ้าเป็นเอกสารที่ต้องห้ามนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ถูกห้ามไปด้วยเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นให้สืบได้ ในคดีนี้โจทก์ก็ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 เช่นเดียวกับจำเลย
6. คดีนี้ผู้บันทึกเห็นว่า โจทก์เถียงว่าวันทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ชำระเงินแต่ได้มีการตกลงให้หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์ จำเลย เนื้อแท้ของข้อเถียงโจทก์ก็คือ ถือว่าจำเลยชำระแล้วในวันทำสัญญาซื้อขายด้วยการหักกลบลบหนี้นั่นเอง
ข้อตกลงในส่วนหักกลบลบหนี้นั้น น่าจะถือได้ว่าเป็นการนำสืบถึงวิธีการชำระหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายได้ อันถือเป็นข้อยกเว้นของการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/25052505 .861,คำพิพากษาศาลฎีกาที่2241/25342534. เล่ม 4หน้า 125) และการนำสืบว่าโจทก์จำเลยเป็นหนี้ต่อกันอย่างไรได้มีการหักหนี้กันแล้วอย่างไร ศาลฎีกาก็ถือเป็นข้อยกเว้นให้สืบได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/25102510 .1158)
นอกจากนี้ ผู้บันทึกยังเห็นว่าคดีนี้ข้อโต้เถียงของโจทก์ก็เพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขาย โจทก์มิได้ประสงค์จะนำสืบโต้เถียงเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด ดังนั้นจึงถือว่าเข้าข้อยกเว้นที่จะสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสารได้เช่นกัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/25112511 .1912, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/25222522 .43,คำพิพากษาศาลฎีกาที่3303/25322532.1423)
คดีนี้เป็นไปได้ว่าศาลฎีกาเห็นว่าไม่เข้าข้อยกเว้นที่ศาลฎีกาเคยอนุญาตให้สืบได้จึงให้เหตุผลในทางที่ว่าเป็นสัญญาสืบเนื่องจากสัญญาที่สืบแก้ไขได้และโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา
ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกเห็นด้วยในผลที่ยอมให้โจทก์นำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายได้ แต่น่าจะเป็นเพราะเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัญญาที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายหรือเพราะโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา
สมชาย รัตนชื่อสกุล


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2523
เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามตนเองแทนลูกหนี้โดยฟ้องคดีขอไถ่ทรัพย์ที่ลูกหนี้ขายฝากไว้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้วไม่ได้ เพราะลูกหนี้ไม่มีสิทธิไถ่คืนแล้ว
การที่ก่อนครบกำหนดไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งขอสวมสิทธิไถ่ทรัพย์แทนผู้ขายฝากซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ถือไม่ได้ว่าผู้มีสิทธิในการไถ่ทรัพย์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืน เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้เท่านั้น ไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534

จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากัน จำเลยได้ขายฝากที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การที่จำเลยร่วมไปติดต่อขอซื้อทรัพย์ที่เป็นสินสมรสดังกล่าวคืนจากโจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยร่วมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน ดังนี้หาใช่เป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2501
ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันถูกต้องตามกฎหมาย กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ในวันครบกำหนดได้ตกลงขยายการไถ่ถอนกันด้วยปากเปล่าต่อไป 1 ปี ครั้งครบกำหนดได้ตกลงทำหนังสือว่ายอมให้ต่อการไถ่ถอนกันไปอีก 1 ปี ต่อมาภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนครั้งที่ 2 ผู้ขายฝากไปขอไถ่ถอน ดังนี้ ถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นการขยายเวลาไถ่ถอนการขายฝาก ไม่ใช่เป็นเรื่องคำมั่นจะขายทรัพย์ที่ขายฝาก
เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก จะตกลงขยายเวลาการขายฝากในภายหลังไม่ได้ ขัดต่อป... มาตรา 496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2539
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา320โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ไม่ได้ซึ่งตามสัญญาระบุให้ชำระสินไถ่เป็นจำนวน8,800,000บาทสินไถ่จำนวนดังกล่าวเป็นเงินจำนวนมากการชำระค่าสินไถ่ด้วยแคชเชียร์เช็คซึ่งเป็นเช็คที่ทางธนาคารออกให้เช็คดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนเงินสดหากจำเลยมีความสงสัยว่าเป็นเช็คปลอมหรือไม่มีเงินก็อาจตรวจสอบโดยโทรศัพท์สอบถามไปยังธนาคารที่ออกแคชเชียร์เช็คได้  แต่จำเลยก็ ยืนกรานไม่ยอมรับแคชเชียร์เช็คซึ่งเป็นการผิดปกติเพราะหากจำเลยต้องการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดก็น่าจะระบุไว้ในสัญญาหรือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับชำระหนี้เองและโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดต่อกับจำเลยเรื่องไถ่ถอนการขายฝากด้วยตนเองแต่ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกันกระทำแทนแล้วส่วนการติดต่อล่วงหน้า30วันก่อนมีการไถ่ถอนหรือไม่ไม่ปรากฎซึ่งแม้จะติดต่อการไถ่ถอนล่วงหน้าไม่ครบ30วันแต่จำเลยก็ได้มาพบโจทก์กับพวกที่ธนาคารและไม่ได้ยกระยะเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นสาระสำคัญจำเลยคงยกเรื่องไม่รับแคชเชียร์เช็คและต้องการเงินสดเท่านั้นแสดงว่าระยะเวลาบอกกล่าวการไถ่ถอนล่วงหน้า30วันไม่เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปโจทก์จึงไม่ผิดสัญญาในข้อนี้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2544
ผู้ขายฝากได้ไถ่ที่ดินพิพาทจากผู้ซื้อภายในกำหนดในสัญญาขายฝากแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่การขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินพิพาทยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่มีผลใช้บังคับยันกันเองได้ แม้ยังมิได้มีการจดทะเบียนไถ่ ที่ดินที่ขายฝากก็ตกเป็นของผู้ขายฝากทันที ซึ่งมีผลบังคับยันกันได้ระหว่างคู่สัญญา ผู้จัดการมรดกของผู้ขายฝากย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนและฟ้องร้องขอให้ผู้ซื้อจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินในระยะเวลาใดก็ได้ ตาม ... มาตรา 1336


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2535
ผู้ร้องได้ไถ่ถอนการขายฝากและรับมอบสิทธิการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยภายในกำหนดแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก ผู้ร้องก็ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378,1379 จำเลยไม่ใช่เจ้าของที่พิพาทอีกต่อไป ต้องปล่อยที่พิพาทที่ยึดไว้






คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2518

ผู้ซื้อฝากฟ้องขับไล่ผู้ขายฝากที่อยู่ในเรือนที่ขายฝากโดยไม่มีสิทธิได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ออกไปก่อน
ฟ้องขับไล่จากเรือนโดยอ้างว่าจำเลยเช่าจากโจทก์ ได้ความว่าจำเลยไม่ได้เช่า แต่ได้อยู่ในเรือนของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษาขับไล่ได้ไม่นอกฟ้อง
ชั้นอุทธรณ์โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ไม่ได้
จำเลยขายฝากเรือนแก่โจทก์ชำระค่าไถ่เรือนบางส่วนในกำหนดแต่ส่วนที่เหลือจำเลยมิได้ชำระจนเกินกำหนดไถ่คืนเรือนตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เด็ดขาด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2530

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินให้โจทก์ กำหนดไถ่ภายในหนึ่งปี ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ขอให้บังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านดังกล่าว จำเลยรับว่าขายฝากที่ดินและบ้านแก่โจทก์และครบกำหนดไถ่แล้วจริงแต่โจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินและบ้านได้ในภายหลัง จำเลยกำลังจะหาเงินมาไถ่ ดังนี้หากได้ความจริงตามคำให้การของจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวอาจเข้าลักษณะเป็นคำมั่นจะขายทรัพย์ซึ่งบังคับกันได้ มิใช่เป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์อันต้องห้ามตาม ... มาตรา 496 ศาลชั้นต้นควรสืบพยานฟังข้อเท็จจริงต่อไป.


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2519
โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทแก่จำเลย ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า โจทก์ยืมเงินจำเลยจำนวนหนึ่ง โจทก์ขอต่อสัญญาขายฝากออกไปอีก 5 เดือน จำเลยจะไม่ขายที่ดินแปลงที่ขายฝากให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าโจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระ จำเลยจะโอนให้จะไม่คิดเกินราคาในสัญญานี้ ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญากันอีกว่า โจทก์ได้นำเงินมาชำระให้จำเลยส่วนหนึ่ง ขอต่อสัญญาไปอีก ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ มิใช่เป็นคำมั่นว่าจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทคืนให้โจทก์ จึงเป็นโมฆะเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512

การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2536

ทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ และทำสัญญากันโดยที่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนกับจำเลย ได้ส่งมอบที่ดินในส่วนที่ตกลงแลกเปลี่ยนให้แก่จำเลยแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพราะได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากันบางส่วนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์นำมาฟ้องบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ หลังจากโฉนดที่ดินพิพาทได้ออกแล้ว โจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ และจำเลยก็ได้ไปยังสำนักงานที่ดินเมื่อเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2522 เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ขาดสิทธิครอบครองแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฟังว่าสัญญาแลกเปลี่ยนไม่เป็นโมฆะ ใช้บังคับได้ การที่จะวินิจฉัยต่อไปว่า สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ตามฎีกาของจำเลยย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2538
การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมด้วยใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้แก่โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ในการที่จำเลยนำเช็คไปขายลดแก่โจทก์ถึงแม้จะมีข้อกำหนดให้นำไปจดทะเบียนจำนองได้หลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาจะเอาทรัพย์จำนองเป็นประกันนั้นเองเมื่อไม่ได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมายสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา115เดิมและมาตรา714ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ไม่ได้บัญญัติไว้ในที่ใดให้มีสัญญาจะจำนองได้เมื่อสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะและสัญญาจะจำนองมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่อาจอ้างอิงสัญญาดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ขายลดเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541

หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ .มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ .และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดา เมื่อได้รับ มรดกที่พิพาทหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ .ส่วนร. จะโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ..1 ที่เชิงทะเลไปแล้ว จำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก .เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ .ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญา จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ . ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ . ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2537
การแลกเปลี่ยนที่ดินมือเปล่า เพียงแต่สละสิทธิครอบครองให้แก่กันก็มีผลสมบูรณ์ใช้ยันคู่กรณีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2538

แม้นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยระบุว่าเป็นสัญญาให้โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินกันไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาให้นั้นเป็นนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาแลกเปลี่ยนเมื่อโจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยต้องโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529
ก่อนทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผุ้นำมาขอแลกว่าหมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนมีพิรุธว่าเป็นของปลอมหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถแม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียนกรมตำรวจก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนจำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตจำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2527
การที่ผู้เสียหายและจำเลยตกลงแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน แม้ว่าจะยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ตาม แต่ผู้เสียหายและจำเลยต่างก็เข้าครอบครองที่ดินที่แลกเปลี่ยนกันนั้นเป็นสัดส่วนแล้วเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ผู้เสียหายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แลกเปลี่ยนโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 ปี จำเลยได้ขอแลกเปลี่ยนที่ดินคืนตามเดิมแต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมแสดงว่าจำเลยยอมรับสิทธิครอบครองของผู้เสียหายเหนือที่ดินซึ่งเคยเป็นของจำเลย การที่จำเลยเอาผลมะพร้าวจากต้นมะพร้าวที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งผู้เสียหายครอบครองไป จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต มีความผิดฐานลักทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537

การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วเมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้หาจำต้องให้ผู้โอนให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเพิกถอนการให้ก่อนไม่




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2536

ผู้ร้องได้ยกรถยนต์ของกลางให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1แล้ว หลังจากยกให้ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การให้รถยนต์ของกลางเพียงแต่ส่งมอบให้ก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 แล้ว หลักฐานทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่กรณีที่จะต้องจดทะเบียนการโอนตาม มาตรา 525 ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องจึงไม่อาจขอคืนรถยนต์ของกลางได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2537
จำเลยทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดโดยเสน่หาแก่โจทก์โดยจะนำไปจดทะเบียน สำนักงานที่ดินภายในกำหนด 7 วัน แต่เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2532
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญายกที่ดินมีโฉนด ให้โจทก์ และรับรองว่าจะจัดการแบ่งแยกให้ในภายหน้า หากไม่แบ่งให้ตาม สัญญา ยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับตาม สัญญา ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1ประสงค์จะยกที่ดินให้โจทก์โดย การทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีสละการครอบครองไม่เมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่นิติกรรมให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย การที่โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการครอบครองโดย อาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 อันเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะ เป็นเจ้าของ แม้โจทก์ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปี โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตน เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้อง ตีความโดย เคร่งครัด จึงห้ามเฉพาะ บุตรที่ชอบด้วย กฎหมายฟ้องบุพการีของตน เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2538
การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2521

ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญใด การให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่การให้ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล ..2489



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2491
สัญญาให้ตามมาตรา 521 นั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีสิ่งตอบแทน.
สัญญาที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำไว้กับผู้ใหญ่ฝ่ายชายว่า จะยกที่ดินให้แก่คู่สมรสภายใน 5 ปี นับแต่วันสมรส แต่ถ้าคู่สมรสทอดทิ้งไม่อุปการะผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงซึ่งเป็นผู้ให้แล้ว ผู้ให้จะยังไม่โอนที่ดินให้ดั่งนี้ เป็นสัญญาที่มีการตอบแทน จึงไม่เป็นสัญญาให้ตาม .521 แต่เป็นสัญญาซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าสัญญากองทุนในการสมรส คู่สมรสฟ้องให้บังคับตามสัญญาได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2538
การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ที่ดินจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา526 บันทึกข้อตกลงระหว่างป. กับจำเลยที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทยินยอมยกที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งให้โจทก์ด้วยแต่มิได้จดทะเบียนจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทโดยอาศัยบันทึกดังกล่าวได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2504
การยกสิทธิรับจำนองให้แก่กัน ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2528

การที่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยขาดความกตัญญู แม้โจทก์จะได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัสก็ถือได้ว่าจำเลยได้ประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(1) แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2541
จำเลยด่าโจทก์ว่า "โจทก์นิสัยไม่ดี คนโตไม่รู้จักโตพูดไม่อยู่กับร่อง กับรอยพูดหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลนตอแหล เก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กูและเชื่อถือไม่ได้"ถ้อยคำดังกล่าวแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็น การลบหลู่ บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ เสียชื่อเสียงทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2540
โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยผู้เป็นบุตรเพื่อ นำไปทำมาหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการให้ทรัพย์สินแก่บุตรโดยเสน่หามิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 535(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะต้องกระทำเช่นนั้น ทั้งในการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยก็ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และหนังสือสัญญาให้ที่ดินว่าเป็นการให้ไม่มีค่าตอบแทน เพราะผู้รับให้เป็นบุตร จำเลยผู้รับให้จะอ้างว่าที่ระบุการให้เช่นนั้น เป็นแต่เพียงกระทำขึ้นตามระเบียบปฎิบัติของกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทยมิได้กระทำตามเจตนาแห่งการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหาได้ไม่จึงต้องฟังว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา จำเลยด่าโจทก์ผู้ให้ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรต"ไอ้เฒ่าบ้าแก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติแถมบ้าเมียไม่สมแก่ไอ้หัวล้าน"และด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรตไอ้เฒ่าไอ้หัวดอ ตายกับหีอีคลี่" ต่อหน้าบุคคลอื่น การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำเช่นนั้นผู้ได้ยินฟังย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติบ้าผู้หญิง ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงแต่คำหยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้นหากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมจะเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน จะระบุว่า .ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดิน โดยให้จำเลยบุตรของโจทก์ของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย เพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ . ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินนั้นให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยสาบานตนให้การเป็นพยาน ปัญหาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาท .มารดาจำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนที่ดินส่วนของนางรุ่นชอบหรือไม่นั้น เมื่อประเด็นดังกล่าวจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2535
หมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)หาจำเป็นต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่เพียงแต่ได้ความว่า เจตนาดูหมิ่นก็ถือว่าประพฤติเนรคุณแล้ว จำเลยซึ่งได้รับการให้ที่ดินจากโจทก์ผู้เป็นบิดาด่าว่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่กูไม่นับมึงเป็นพ่อ ออกไปให้พ้น ไม่ไปมึงตายกูไม่รับรู้" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์เรียกโจทก์ว่าไอ้แก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ว่าไม่นับถือโจทก์เป็นบิดา ขับไล่โจทก์ออกไปให้พ้น มิฉะนั้นโจทก์ตายจำเลยไม่รับรู้ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2533
ที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อี หัวอ่อน มึงทำไปเถอะเดี๋ยว มึงก็ตายมึงขโมยวัดที่ดินกู กูจะสู้มึง ถึงไม่ได้สักหน่อยกูก็จะเอา กูไม่นับถือมึงหรอก" นั้น จำเลยใช้คำพูดขึ้นมึงกูกับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของตนเอง แสดงว่าสิ้นความเคารพนับถือยำเกรงอยู่แล้วทั้งยังกล่าวถ้อยคำหาว่าโจทก์ขโมยวัดที่ดินของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง และทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง อันเป็นการประพฤติเนรคุณตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2)โจทก์จึงถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2527

การให้เงินหรือสิ่งของแก่บิดาเพื่อเป็นการช่วยเหลือเจือจุนบิดาในขณะยากไร้นั้นไม่จำเป็นต้องให้มากมายอันจะเป็นเหตุให้บุตรต้องเดือดร้อน แต่เป็นการให้ตามควรแก่ฐานะของบุตรพอสามารถจะให้ได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการให้หรือการช่วยเหลือโดยสิ้นเชิง นอกจากจะถือว่าเป็นเหตุเนรคุณต่อบิดาผู้ให้แล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการขาดความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้เรียกถอนคืนการให้ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามีถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2540
โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยผู้เป็นบุตรเพื่อ นำไปทำมาหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการให้ทรัพย์สินแก่บุตรโดยเสน่หามิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 535(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะต้องกระทำเช่นนั้น ทั้งในการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยก็ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และหนังสือสัญญาให้ที่ดินว่าเป็นการให้ไม่มีค่าตอบแทน เพราะผู้รับให้เป็นบุตร จำเลยผู้รับให้จะอ้างว่าที่ระบุการให้เช่นนั้น เป็นแต่เพียงกระทำขึ้นตามระเบียบปฎิบัติของกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทยมิได้กระทำตามเจตนาแห่งการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหาได้ไม่จึงต้องฟังว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา จำเลยด่าโจทก์ผู้ให้ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรต"ไอ้เฒ่าบ้าแก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติแถมบ้าเมียไม่สมแก่ไอ้หัวล้าน"และด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรตไอ้เฒ่าไอ้หัวดอ ตายกับหีอีคลี่" ต่อหน้าบุคคลอื่น การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำเช่นนั้นผู้ได้ยินฟังย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติบ้าผู้หญิง ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงแต่คำหยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้นหากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมจะเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน จะระบุว่า .ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดิน โดยให้จำเลยบุตรของโจทก์ของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย เพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ . ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินนั้นให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยสาบานตนให้การเป็นพยาน ปัญหาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาท .มารดาจำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนที่ดินส่วนของนางรุ่นชอบหรือไม่นั้น เมื่อประเด็นดังกล่าวจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538

การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)นั้นสิ่งที่มีค่าภาระติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน  แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนการให้คดีนี้นานแล้วก็เป็นเหตุการณ์คนละตอนจึงมิใช่สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ที่ดินพิพาทในคดีนี้ การทำสัญญายกให้ที่ดินและบ้านพิพาทขณะที่ยังติดจำนองเป็นประกันหนี้ครั้งที่สามอันถือว่าเป็นหนี้ของจำเลยผู้รับให้โดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองไม่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)