ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียได้หรือไม่?

คำตอบต่อกรณีดังกล่าวปรากฎอยู่ในคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๒/๒๔๘๒

คดีแดงที่  292/2482
อัยยการศรีสะเกษ จ.
นายพัน,นายเพ็ชร์ จ.ล.


อาญา ม.๓๐๔
ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.๒(๖)(๗)(๑๑),๑๒๐ ๒๑วรรค๒
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. ๑๑,๑๔

พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียก็ได้.
ปลัดอำเภอไปตรวจราชการ+ของปลัดอำเภอหายไป+ได้ที่จำเลย ปลัดอำเภอ+การสอบสวนจำเลยแล้วส่วอัยยการฟ้องศาลดังนี้+ได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และสอบ-สวนตาม ก.ม.แล้ว.
…………………..……………………………………………………………..

ว.ปลัดอำเภอไปตรวจราชการ ม้าของว.หายไป รุ่งขึ้นจับม้าได้จากจำเลยโดยจำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงเอาไปจากผู้จับม้าได้ ว.สอบสวนแล้วส่งอัยยการโจทก์ฟ้องจำเลยเปนคดีนี้หาว่าฉ้อโกง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าพนักงานสอบสวนเปนผู้เสียหายเองหามีอำนาจสอบสวนในกรณีที่ตนมีหน้าที่ส่วนได้เสียไม่ ให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลฎีกาตัดสินว่า ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย คดีนี้จึงถือได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนตาม ก.ม.แล้ว ที่ศาลชั้นต้นยกเอาก.ม.ว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเสีย ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่.

(พลางกูร.นิติศาสตร์.เทฟโนต์.
ศาลชั้นต้น - นางทาองอินทร +
ศาลอุทธรณ์ - พระประสิทธิวินิชฉัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น