ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเบิกความให้ความเห็นก็เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จได้

การเบิกความที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จนั้น ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องเบิกความเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  ไม่ใช่ใช่ข้อกฎหมายเท่านั้น การให้ความเห็น แม้ภายหลังไม่ตรงกับความจริงก็ผิดฐานเบิกความเท็จได้ เรื่องเป็นอย่างไร โปรดพิจารณา...

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  410/2474
พระภิกษุสม
     โจทก์
นายร้อนโทมูล นายกำไล
     จำเลย


อาชญา มาตรา 155-156-15
วิธีพิจารณาอาชญา

          การที่วิจักขณะพะยานเบิกความออกความเห็นหรือความสันนิษฐานโดยสุจริตนั้น แม้ภายหลังไม่ตรงกับความจริง ก็ยังไม่มีผิดฐานเบิกความเท็จ
          ไต่สวนมูลฟ้อง หน้าที่นำสืบ
          เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้อง เห็นว่าจำเลยไม่มีผิดตามกฎหมายแล้วไม่ออกหมายเรียกจำเลยมาพิจารณาได้ โจทก์หาว่าจำเลยเบิกความเท็จเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบ

________________________________


          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จแลกระทำพะยานเท็จตามกฎหมายลักษณะอาชญา ม.๑๕๕-๑๕๖-๑๕๗-๗๑ โดยหาว่า มึ่งเป็นวิจักาขณะพะยานในคดีที่ โจทก์ฟ้องหาว่า ก. จำเลยยิงม้าของ โจทก์นั้น เบิกความต่อศาลว่า "ได้ ตรวจแผลม้าแลคลำดูไม่รู้สึกว่ามีของแข็งถูกมือ เข้าใจว่าไม่มีกระสุนปืนอยู่ในแผล แลยืนยันว่าแผลนั้นไม่ใช่แผลถูกกระสุนปืน" แลจำเลยได้ให้การที่อำเภอก็เช่นเดียวกันซึ่ง ก. จำเลยได้อ้างคำให้การนั้นมาเป็นพะยานในขั้นศาลด้วยจนศาลได้พิพากษายกฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้อง ก.เสีย ต่อมา โจทก์ให้แพทย์ผ่าแผลม้าได้กระสุนปืน ๑ กะสุนดังนี้
          ศาลเดิมไต่สวนมูลฟ้องเห็นว่า ม.จำเลยไม่มีผิด จึงไม่ออกหมายเรียก
          ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตาม
          โจทก์ฎีกาข้อกฎหมาย
          ศาลฎีกาเห็นว่าถ้อยคำที่ ม.เบิกความเป็นแต่ความเห็นแลความสันนิษฐาน แลไม่ส่อให้เห็นว่ามีเจตนาทุจจริตเข้าข้างฝ่ายใด การที่ ม.จะมีผิดดังโจทก์หาจะต้องได้ความว่า ม.ได้รู้แล้วว่าแผลม้านั้นเป็นแผลถูกกระสุนปืนหรือรู้สึกว่ากระสุนปืนอยู่ในแผล แล้วแกล้งมาออกความเห็นไปอย่างอื่น แต่ข้อนี้โจทก์ก็ไม่มีพะยานมาสืบ จึงตัดสินยืนตามศาลล่าง


( วิชัย - พิพาก - พรหม )

ศาลชั้นต้น - หลวงพินิจ+
ศาลอุทธรณ์ - พระยามณู+ธรรม

หมายเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น