กฎหมายแพ่ง - หลักทั่วไป
ความหมายของกฎหมายแพ่ง
1. คำว่า " แพ่ง" เป็นคำในกฎหมายเก่าของไทยมาแต่โบราณ ดังปรากฎเป็นถ้อยคำในกฎหมายลักษณะรับฟ้องในกฎหมายตราสามดวง ที่บัญญัติถึงการห้ามรับฟ้องจากบุคคล 20 ประเภท ว่า "....หนึ่งเป็นพิกลจริตบ้าใบ้สูงอายุ หาสติมิได้มา....ถ้าต้องด้วยพระไอยการห้าม 20 ประเภทนี้แล้ว ให้ยกฟ้องเสีย โดยถือว่าคดีทั้ง 20 ประเภทนี้เป็นคดีแพ่ง " แต่ในสมัยนั้นยังไม่จำแนกเด็ดขาดเป็นความแพ่งหรือความอาญา ยังคงปนกันไป เช่น ตามกฎหมายลักษณะวิวาทมาตรา 14 ถ้าผู้หนึ่งไปชกต่อยทุบตีเขา ผู้เสียหายด่าทอโต้ตอบเอา กฎหมายระบุโทษว่า " ท่านให้ถอดสินไหมพินัยโดยเบี้ยกรมศักดิ์กลบลบกันทีหนึ่ง เพราะตีมันก่อน มันจึงด่า ด่ามันก่อนมันจึงตี " สินไหม คือ การให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดอันเป็นเรื่องทางแพ่ง ส่วนพินัยก็คือ โทษปรับเอาเป็นทรัพย์ของทางราชการ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี พ.ร.บ. พิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2411) นิยามคำว่าความแพ่งเป็นครั้งแรกว่า " คดีทั้งปวงฟ้องกันด้วยประการใด ๆ ก็ดี ที่มิได้ร้องขอให้มีโทษอาญาหลวงตามกฎหมาย และเป็นแต่จะตัดสินให้แล้วแก่กันได้ด้วยสินทอดไหมฤาใช้ทุนทรัพย์ทั้งปวงนั้นเรียกว่า "ความแพ่ง"
2. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 คำว่า แพ่ง หมายความว่า ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง ซึ่งตรงกับคำ่า civil ในภาษาอังกฤษ แต่คำเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากคำในภาษาละตินว่า จุส ซิวิเล (jus civile) อันหมายถึง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่เอกชนชาวเมือง หรือชาวพื้นเมืองโรมัน ดังที่ Black's Law Dictionary ให้ความหมายว่า The traditional law of the city of Rome, beginning with the Twelve Tables and developed by juristic interpretation. It covered areas of law restricted to roman citizens, such as formalities of making a will. จุส ซิวิเล ของอาณาจักรโรมันเป็นต้นตำรับของกฎหมายแพ่งของประเทศทั้งหลายในเวลาต่อมา แม้ต่ชื่อกฎหมายแพ่งที่เรียกกันในเลานี้ว่า civil law หรือ civil code ก็มีทีมาจากคำในภาษาละตินว่า jus civile นี่เอง แต่ จุส ซิวิเล ของโรมันไม่ได้มีลักษณะและเนื้อหาเป็นกฎหมายแพ่งแท้ ๆ อย่างในทุกวันนี้ เพราะในเบื้องต้นก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เอกชนชาวเมืองเท่านั้น ไม่ใช้กับคนต่างด้าว ประการที่สอง ไม่มีรูปแบบเป็นตัวบทกฎหมายชัดเจน หากแต่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษณ มติสภา พระบรมราชโองการ ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ประเพณีและหลักแห่งความยุติธรรมปะปนกันไป ประการที่สามเนื้อหาสาระของจุส ซิวิเล มีทั้งส่วนที่เป็นกฎหมายว่าด้วยบุคคล ครอบครัว มรดก สัญญา หนี้ ทรัพย์สิน ละเมิด กฎหมายอาญาและกฎหมายมหาชาอื่น ๆ ระคนปนกันไปเหมือนกับกฎหมายไทยโบราณ เพราะเหตุทางประวัติศาสตร์ดั่งนี้เอง กฎหมายแพ่งของประเทศทั้งหลายในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า civil law และเมื่อจัดทำเป็นประมวลกฎหมายแล้วก็เรียกว่า Civil Code ส่วนเนื้อหาสาระก็ยังคงว่าด้วย บุคคล สัญญา หนี้ ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก คล้าย ๆ กับที่ปรากฎอยู่ในจุส ซิวิเล (สมัยตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 500- 829)
3.สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของกฎหมายแพ่งว่า " คือบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างเอกชนกับเอกชน และอาจฟ้องร้องกันได้ในทางทรัพย์สิน หรือบังคับให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือห้ามปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น " แต่สารานุกรมกฎหมายของต่างประเทสน่าจะให้ความหมายชัดเจนกว่า โดยอธิบายว่า กฎหมายแพ่งได้แก่ กฎหมายเอกชนซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ความสันพันธ์ของเอกชนระหว่างกันที่มิใช่ความสัมพันธ์ทางอาชีพหรือวิชาชีพ (International Encyclopedia of Comparative Law, vol 1, p.65) คำว่าเอกชนในที่นี้อาจหมายความถึงราษฎรแต่ละคนในฐานะที่เป็นปัจเจกชน หรือรัฐที่ยอมลดฐานะลงมาเป็นเอกชนเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิหรือมีหน้าที่ต่อเอกชนอื่นอย่างเสมอภาคกันก็ได้ Black's Law Dictionary ให้ความหมายของ Civil Code ว่า A comprehensive and systematic legislative pronouncement of the whole private, non commercial law in a legal system of the continental civil law tradition.
4. โดยความหายข้างต้นจึงทำให้เห็นว่ากฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่มีความจำเป็นสำหรับสังคม เพราะสังคมย่อมประกอบด้วยราษฎรหลายคนมารวมกัน และในชีวิตประจำวัน ปัจเจกชนหรือราษฎรแต่ละคนย่อมจำเปฌนต้องมีความสันพันธ์กันทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว เช่น การสมรส การจัดการทรัพย์สินของตนเอง การแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุตรหลานเมื่อตนยังมีชีวิตอยู่หรือเมื่อตนเสียชีวิตแล้ว หรือในเรื่องการติดต่อคบค้าสมาคมกัน เช่น การกูหนี้ยืมสินหรือการทำสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนการที่จะต้องมีความรับผิดชอบทางกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจจะรับผิดมาแต่แรก เช่น ความรับผิดทางละเมิด เป็นต้น เนื้อหาสาระของกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์เหล่านี้เองที่เรียกว่ากฎหมายแพ่ง ฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า " ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย" (ubi societas , ibi jus) อาจพูดให้ชัดลงไปได้ว่า ที่ใดมีสังคมที่นั่นย่อมมีกฎหมายแพ่ง
ubi societas , ibi jus - “Wherever there is society, there is law.” --- is a famous legal maxim which summarizes classic Greco-Roman social philosophy.
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi ius. Ergo ubi homo, ibi ius -(Where the human being is, there is a society. Where there is a society, there is law. Therefore: where the human being is, there is law.) ) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"
5. กฎหมายแพ่งอาจปรากฎอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กันก็ได้ การที่ประเทศไทย มี ปพพ. ใช้มิได้หมายความว่ากฎหมายแพ่งจะต้องอยู่ในรูปแบบของประมวลกฎหมายเสมอไป เพราะที่เป็นกฎหมายจารีตประเพณี และที่เป็นกฎหมายศาสนา แต่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งกฎหมายแพ่งออกเป็นสองระบบหรือสองสกุลของกฎหมาย คือ สกุลโรมาโน - เยอรมันนิค ซึ่งทำกฎหมายแพ่งในรูปแบบของประมวลกฎหมาย มีหลักใหญ่อยู่ที่การมีกฎหมายว่าด้วยบุคคล ครอบครัว หนี้ และทรัพย์สิน และสกุลคอมมอนลอร์ ซึ่งไม่จัดทำกฎหมายแพ่งในรูปแแบของประมวลกฎหมาย หากแต่ใช้จารีตประเพณี และบรรทัดฐานตามคำพิพากษาศาลแทน มีหลักใหญ่อยู่ที่ การจัดการกองทรัพย์สินในรูปของทรัสต์ สัญญา และการปลดเปลื้องความเสียหาย โดยการให้ศาลออกหมายบังคับหรือหมายห้าม เป็นเรื่อง ๆ ไป
6. กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายเอกชน (privat law - Private law is that part of a civil law legal system which is part of the jus commune that involves relationships between individuals, such as the law of contracts or torts[1] (as it is called in the common law), and the law of obligations (as it is called in civil legal systems). It is to be distinguished from public law, which deals with relationships between both natural and artificial persons (i.e., organizations) and the state, including regulatory statutes, penal law and other law that affects the public order. In general terms, private law involves interactions between private citizens, whereas public law involves interrelations between the state and the general population.e law - ) นักนิติศาสตร์ทั่วไปนิยมแบ่งกฎหมายออกเป็น สองประเภท คือกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน (public law -Public law (lat. ius publicum) is that part of law which governs relationships between individuals and the government, and those relationships between individuals which are of direct concern to society.[1] Public law comprises constitutional law, administrative law, tax lawand criminal law,[1] as well as all procedural law. In public law, mandatory rules prevail. Laws concerning relationships between individuals belong to private law.
The relationships public law governs are asymmetric and unequal – government bodies (central or local) can make decisions about the rights of individuals. However, as a consequence of the rule of law doctrine, authorities may only act within the law (secundum et intra legem). The government must obey the law. For example, a citizen unhappy with a decision of an administrative authority can ask a court for judicial review.
Rights, too, can be divided into private rights and public rights. A paragon of a public right is the right to welfare benefits – only a natural person can claim such payments, and they are awarded through an administrative decision out of the government budget.
The distinction between public law and private law dates back to Roman law. It has been picked up in the countries of civil law tradition at the beginning of the nineteenth century, but since then spread to common law countries, too.
The borderline between public law and private law is not always clear in particular cases, giving rise to attempts of theoretical understanding of its basis. ) ความคิดเช่นนี้มีมาแต่สมัยโรมันแล้ว ดังที่อัลเปียน (Ulpian (/ˈʌlpiən/; Latin: Gnaeus Domitius Annius Ulpianus; c. 170 – 223) was a Roman jurist of Tyrian ancestry.) นักกฎหมายโรมันในสมัยต้นคริสตกาลเคยอธิบายว่า " กฎหมายมหาชน คือกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐโรมัน ในขณะที่กฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน7. กฎหมายมหาชนประกอบด้วยกฎหมายหลายชนิดตามลักษณะของกลไกการใช้อำนาจรัฐ และเนื้อหาสระในเรื่องที่รัฐต้องการเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กหมายภาษีอากร กฎหมายการคลัง กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นประกอบด้วยกฎหมายน้อยชนิด เพราะได้แก่กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายเท่านั้น ทำให้รู้สึกว่ากฎหมายแพ่งกับกฎหมายเอกชนเป็นของสิ่งเดียวกัน ใช้เรียกแทนกันได้ ดังที่สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า กฎหมายเอกชน หมายถึง กฎหมายที่วางหน้าท่ี่ระหว่างเอกชนกับเอกชน ส่วนมากก็คือกฎหมายแพ่งไม่เกี่ยวกับส่วนได้เสียของประชาชน แต่ความจริงแล้ว ในนานาประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย เมื่อกล่าวถึงกฎหมายเอกชนก็จะเป็นสิ่งที่เข้าใจว่า ได้แก่ประมวลกฎหมายแพ่ง (Civil Code ) ประมวลกฎหมายพาณิชย์(Commercial Code ) และกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย (Act or Rules on Conflict of Laws )
8. ประวัติกฎหมายแพ่ง
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว ซึ่งเข้าใจว่ามีที่มาสองทาง คือ ประวัติทางฝ่ายระบบประมวลกฎหมายแพ่งซึ่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน และมีอิทธิพลต่อประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศส่วนใหญ่ เชาน ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย สวิตเวอร์แลนด์ สเปน ญี่ปุ่น เป็นต้น และประวัติทางฝ่ายระบบแพ่งที่เป็นจารีตประเพณีซึ่งมีที่มาจากกฎหมายคอมมนน ลอว์ ของอังกฤษ และมีอิทธิพลต่อกฎหมายแพ่งของสหรัฐอเมริก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น กฎหมายแพ่งสองระบบนี้มีที่มาและวิวัฒนาการแตกต่างกัน และมีอิทธิพลต่อประเทศต่าง ๆ คู่ขนานกัน
ในการกล่าวถึงกฎหมายแพ่งของไทยจำเป็นต้องกล่าวถึงประวัติของกฎหมายทั้งสองระบบ เพราะมีอิทธิพลต่อการจัดทำ ปพพ. ของไทยด้วยกันทั้งคู่ แม้ว่าน้ำหนักจะเอนเอียงไปทางฝ่ายระบบประมวลกฎหมายแพ่งซึ่งมีที่มาจากกฎหมายโรมันเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม
ประวัติกฎหมายไทย
ระเบียบกฎหมายไทยเป็นดังนี้มาจนถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยก็ได้ยึดแนวทางตรากฎหมายอย่างอังกฤษ กระนั้น คำเรียกกฎหมายก็เฝืออยู่ เช่น บางฉบับตราเป็นพระราชกำหนดแต่ให้ชื่อว่าพระราชบัญญัติก็มี ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติสมัยนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ครั้นต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญสำหรับปกครองแผ่นดินขึ้นแล้ว ก็มีการแบ่งแยกอำนาจเป็นฝ่าย ๆ ไป อำนาจในการออกกฎหมายจึงตกแก่ฝ่ายนิติบัญญัติ และกฎหมายก็เป็นระบบระเบียบดังกาลปัจจุบัน
กฎหมายในยุคสุโขทัย
ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ( ปี พ.ศ. ๑๘๒๘-๑๘๓๕ ) เรียกกันว่า กฎหมายสี่บท และมีการเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะโจรลงไปในครั้งรัชสมัยพญาเลอไทย กษัตริย์สุโขทัยองค์ที่ ๔ ซึ่งมีส่วนของการนำกฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพราหม ซึ่งได้มีส่วนขยาย ที่เรียกว่า ‘พระราชศาสตร์’ มาใช้ ประกอบด้วย
กฎหมายกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นชารธานีแห่งที่สองของไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐ พระมหากษัตริย์ในยุคนั้น ได้สร้างกฎหมายซึ่งเรียกว่าพระราชศาสตร์ไว้มากมาย พระราชศาสตร์เหล่านี้ เมื่อเริ่มต้นได้อ้างถึงพระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูเป็นแม่บท เรียกกันว่า ‘มนูสาราจารย์’ พระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูสาราจารย์นี้ เป็นกฎหมายที่มีต้นกำเนิดในอินเดีย เรียกว่าคำภีร์พระธรรมศาสตร์ ต่อมามอญได้เจริญและปกครองดินแดนแหลมทองมาก่อน ได้แปลต้นฉบับคำภีร์ภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีเรียกว่า ‘คำภีร์ธรรมสัตถัม’ และได้ดัดแปลงแก้ไขบทบัญญัติบางเรื่องให้มีความเหมาะสมกับชุมชนของตน ต่อจากนั้นนักกฎหมายไทยในสมัยพระนครศรีอยุธยาจึงนำเอาคำภีร์ของมอญของมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายของตน ลักษณะกฎหมายในสมัยนั้นจะเป็นกฎหมายอาญาเสียเป็นส่วนใหญ่ ในยุคนั้น การบันทึกกฎหมายลงในกระดาษเริ่มมีขึ้นแล้ว เชื่อกันว่าการออกกฎหมายในสมัยก่อนนั้น จะคงมีอยู่ในราชการเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่ ฉบับที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้งาน ฉบับให้ขุนนางข้าราชการทั่วไปได้อ่านกัน หรือคัดลอกนำไปใช้ ฉบับสุดท้ายจะอยู่ที่ผู้พิพากษาเพื่อใช้ในการพิจารณาอรรถคดี
กฎหมายกรุงรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. 2310-2325)
ในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่๑ เห็นว่ากฎหมายที่ใช้กันแต่ก่อนมานั้นขาดความชัดเจน และไม่ได้รับการจัดเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการศึกษาและนำมาใช้ จึงโปรดเกล้าให้มีการชำระกฎหมายขึ้นมาใหม่ ในคำภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยนำมารวบรวมกฎหมายเดิมเข้าเป็นลักษณะๆ สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ และนำมาประทับตราเข้าเป็นตราพระราชสีห์ ซึ่งเป็นตราของกระทรวงมหาดไทย ตราคชสีห์ ของพระทรวงกลาโหม และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของคลัง บนหน้าปกแต่ละเล่ม ตามลักษณะระของการปกครองในสมัยนั้น กฎหมายฉบับนั้นเรียกกันว่า ‘กฎหมายตราสามดวง’ กฎหมายตราสามดวงนี้ ถือเป็นประมวลกฎหมายของแผ่นดินที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความรัดกุม ยุติธรรมทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจากจะได้บรรจุพระธรรมศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ยังคงมีกฎหมายสำคัญๆอีกหลายเรื่อง อาทิ กฎหมายลักษณะพยาน ลักษณะทาส ลักษณะโจร และต่อมาได้มีการตราขึ้นอีกหลายฉบับ ต่อมาประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศต่างๆมาก พึงเห็นได้ว่ากฎหมายเดิมนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ จนทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นอกจากนั้นยังไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทุกกรณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตรากฎหมายขึ้นใหม่ อาทิ พระราชบัญญัติมารดาและสินสมรส ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดวางระบบศาลขึ้นมาใหม่ และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และลังกามาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย และในสมัยนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ได้แก้ไขชำระกฎหมายตราสามดวงเดิมขึ้นใหม่ และจัดพิมพ์ขึ้นในชื่อของ ‘กฎหมายราชบุรี’ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ทำการร่างกฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส กฎหมายวิธีบัญญัติ ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและกฎหมายที่สำคัญหลายๆฉบับ และในรัชสมัยต่อมา กฎหมายไทยได้ถูกพัฒนาสืบต่อกันยาวนาน ตราบจนทุกวันนี้ มีการจัดทำประมวลกฎหมาย และร่างกฎหมายต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายไทยนั้น ได้รับอิทธิพลทั้งจากกฎหมายภาคพื้นยุโรป อาทิกฎหมายอังกฤษ กฎหมายฝรั่งเศส รวมทั้งจารีตประเพณีเดิมของไทยด้วย (มีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และ ๖ ว่าด้วยเรื่องครอบครัวและมรดก) และได้รับการแก้ไขให้มีความสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา มีกฎหมายที่ทันสมัยถูกตราขึ้นใหม่ๆตลอด เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ( https://th.wikibooks.org/wiki )
การจัดทำกฎหมายแพ่งของไทย
การจัดทำกฎหมายแพ่งในรูปประมวลกฎหมายเริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 5
เพราะมีความจำเป็นต้องนำไปเป็นข้อต่อรองกับต่างประเทศที่เข้ามามีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในประเทศไทยด้วยอำนาจของสนธิสัญญาทวิภาคี
ประมวลฉบับแรกที่สำเร็จในรัชกาลที่5 คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 สมัยรัชกาลที่ 6
ก็ได้จัดทำ ป.พ.พ.ต่อไป
แต่โดยที่การจัดทำต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่างต้องคำนึงถึงจารีตประเพณี
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชน
ขณะนั้นนานาประเทศไม่ได้ยืนยันว่าไทยจะต้องจัดทำกฎหมายหลักให้อารยะในรูปแบบของประมวลกฎหมาย
อาจเป็นจารีตประเพณีอย่างอังกฤษก็ได้
ด้วยพระเนตรอันยาวไกลของรัชกาลที่ 5
จึงเห็นควรให้จัดทำในรูปของประมวลกฎหมาย
โดยการว่าจ้างนักกฎหมายจากประเทศเหล่านั้นเป็นที่ปรึกษาและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ
การจัดทำได้ยกร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยแปลเป็นภาษาไทย ในที่สุดได้ดำเนินการสำเร็จ
และต่างประเทศได้ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเมื่อปี พ.ศ. 2481หมดสิ้น รัฐบาลในขณะนั้นได้แจ้งต่อรัฐสภาว่า “ เป็นอันว่า
ศาลยุติธรรมมีอิสรภาพบริบูรณ์ในการที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ทุกประเภท” ....
ประมวลกฎหมายแพ่งของไทยมีทั้งหมด
6 บรรพ
การจัดทำบรรพ 1 และบรรพ 2 เสร็จลงและประกาศใช้ในวันที่
11 พฤศจิกายน 2467 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2468 เป็นต้นไป
ส่วนพรรพที่ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญาได้ประกาศใช้ครั้งแรกในวันที่
1 มกราคม 2467 แต่เมื่อมีการเลื่อน ใช้บรรพใช้บรรพ 1 และบรรพ 2
ทำให้ต้องเลื่อนการประกาศใช้บรรพ 3 ออกไปด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการประกาศใช้บรรพ
3 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2471 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472
เป็นต้นไป ส่วนบรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2473
แต่ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2475 เป็นต้นไป
ในการยกร่างประมวลกฎหมายทั้ง 4 บรรพนี้
ได้ยกร่างขึ้นเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย
โดยมีบุคคลสำคัญที่เป็นปราชญ์ทางภาษาในสมัยนั้นหลายคนร่วมกันแปล เช่น
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นต้น เหตุนี้หากมีปัญหาเกี่ยวด้วยถ้อยคำ สำนวน
บางครั้งต้องไปดูต้นร่างที่เป็นภาษาอังกฤษก็จะทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น
ส่วนการจัดทำบรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว
และบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก มาเสร็จสิ้นลงหลังสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
โดยยกร่างเป็นภาษาไทยตั้งแต่แรก และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.
2478 เป็นต้นไป
ในการศึกษากฎหมายแพ่ง – หลักทั่วไป
จะเน้นการศึกษาในประมวลแพ่ง
ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ตั้งแต่มาตรา 4 ถึงมาตรา 14
โดยจะเริ่มด้วยการศึกษา
การใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงและการตีความในกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง
ปพพ. ความว่า
มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
การใช้กฎหมาย นั้น หมายถึง
การนำกฎหมายมาใช้บังคับแก่ข้อเท็จจริงในกรณีเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาจมีผู้ใช้แตกต่างกัน
ในการที่ศาล เจ้าพนักงาน หรือราษฎรจะนำกฎหมายมาใช้ ในบางกรณีก็ทำได้ง่าย
เพราะถ้อยคำแห่งตัวบทกฎหมายชัดเจนแน่นอน ผู้ใช้กฎหมายสามารถทราบความหมายของกฎหมายได้ทันที มีข้อควรสังเกตว่าในทางปฏิบัติ
มีน้อยกรณีเต็มทีถ้อยคำในบทกฎหมายชัดเจนโดยไม่ต้องตีความ
เพราะโดยปกติจะทราบว่าถ้อยคำ ในบทกฎหมายมีความหมายอย่างไร
ก็ต้องดูถ้อยคำนั้นทั้งหมด หรือตัวบทกฎหมายที่อยู่ข้างเคียง แต่ในบางกรณีก็ทำได้ยาก
เพราะถ้อยคำในกฎหมายไม่ชัดเจนแน่นอน กล่าวคือ มีถ้อยคำกำกวม
หรือมีความหมายได้หลายทาง ในกรณีเช่นว่านี้
ก็จำต้องตีความในกฎหมายหรือแปลความในกฎหมาย
1 การตีความในกฎหมาย หมายถึง
การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจนแน่นอน
คือกำกวมมีความหมายได้หลายทาง เพื่อหยั่งทราบว่าถ้อยคำของบทบัญญัติของกฎหมายว่ามีความหมายอย่างไร
2 การตีความในกฎหมายจะพึงกระทำต่อเมือมีข้อสงสัยในความหมายของกฎหมายเกิดขึ้น
ถ้ากฎหมายชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่ต้องตีความ
ดังต่อไปนี้
1.ศาลยุติธรรม
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นนั้นย่อมมีลักษณะเป็นข้อบังคับทั่ว ๆ ไป
โดยวางข้อบังคับเป็นกลาง ๆ ฉะนั้น เมื่อมีคดีเกิดขึ้นในศาล
ศาลย่อมจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากคำพยานและหลักฐานอื่น
เมื่อฟังข้อเท็จจริงแน่นอนประการใดแล้ว ศาลก็จะต้องนำกฎหมายซึ่งเป็นข้อบังคับทั่ว
ๆ ไปนี้มาปรับแก่ข้อเท็จจริงที่ฟังได้นั้น
2.เจ้าพนักงาน
การนำกฎหมายมาปรับแก่ข้อเท็จจริงมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลโดยเฉพาะเท่านั้น
เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดี เช่น พนักงานสอบสวย
หรือพนักงานอัยการก็ดี เจ้าพนักงานซึ่งจะต้องอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติราชการก็ดี
ก็ย่อมจะต้องนำกฎหมายมาใช้แก่ข้อเท็จจริงเหมือนกัน
3.ราษฎร
ราษฎรที่ระมัดระวังผลประโยชน์ของตนเองก็ต้องใช้กฎหมายเช่น เมื่อจะทำนิติกรรม
ย่อมจะต้องนำกฎหมายมาใช้แก่นิติกรรมนั้น ๆ
เพื่อที่จะทราบว่าผลในทางกฎหมายของการทำนิติกรรมของตนนั้นมีอย่างใด
นอกจากนี้ในทางชีวิตประจำวันก่อนที่บุคคลจะกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด
ก็ต้องดูว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำห้ามหรือกำชับให้กระทำโดยกำหนดโทษทางอาญาไว้หรือไม่
ซึ่งก็เป็นกรณีที่จะใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงอีกกรณีหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
ในเวลาที่ผู้พิพากษาจะตัดสินความ ผู้พิพากษาก็จะต้องพิจารณาว่า
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันมีอยู่อย่างไร ต่อเมื่อฟังข้อเท็จจริงได้แน่นอนแล้วจึงจะพยายามหาตัวบทกฎหมายเพื่อหยิบยกขึ้นมาปรับแก่คดีนั้น
ๆ ในกรณีที่บทกฎหมายที่จะนำมาปรับแก่คดีมีความหมายกำกวม มีความหมายหลายทางหรือมีความหมายแน่นอน
ผู้พิพากษาก็ต้องตีความ คือ หยั่งทราบเสียก่อนว่าบทกฎหมายมีความหมายอย่างไร
เมือทราบความหมายจากการตีความแล้ว จึงนำบทกฎหมายนั้นไปปรับแก่คดีได้
และเมื่อปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาจึงจะทราบได้ว่า
ศาลควรจะตัดสินอย่างไร
วิธีคิดเช่นเดียวกันนี้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็จะต้องนำมาใช้ในการสอบสวนหรือฟ้องร้องคดีด้วย
คือ พยายามให้ได้ข้อเท็จจริงแน่นอนเสียก่อน
แล้วจึงนำกฎหมายมาปรับแก่ข้อเท็จจริงต่อไป
ซึ่งบางทีอาจต้องตีความเสียก่อนเช่นเดียวกัน อนึ่ง ในการที่เจ้าพนักงานอื่นจะใช้กฎหมายก็ดี
ในการที่ราษฎรจะใช้กฎหมายปรับแก่ข้อเท็จจริงก็ดี มีหลักอย่างเดียวกัน กล่าวคือ
จะต้องมีข้อเท็จจริงแน่นอนเสียก่อนแล้วจึงจะใช้กฎหมายได้
โดยเหตุนี้การใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริง จึงมีหลักเกณฑ์การใช้กฎหมายทั่ว ๆ ไป
ไม่ว่าศาล เจ้าพนักงานหรือราษฎรจะเป็นผู้ใช้ดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องอะไร
มีหลักเกณฑ์ของกฎหมายสำหรับเรื่องนั้นอย่างไร
ข้อเท็จจริงเข้ากับหลักเกณฑ์ของกฎหมายนั้น
ๆ หรือไม่
ถ้าข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้วได้ผลอย่างไร
1
เมื่อมีการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยเกิดขึ้น ผู้วินิจฉัยก็จะต้องคิดว่า
การกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ๆ อาจเป็นเรื่องอะไรได้บ้าง
เช่น ในทางแพ่งอาจเป็นเพียงสัญญาหรือละเมิด ในทางอาญาเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์
เป็นตัวอย่าง
2.วินิจฉัยว่าการกระทำหรือเหตุการณ์
อาจเป็นเรื่องอะไรได้บ้าง แล้วก็พิจารณาว่ากฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับเรื่องนั้น
ๆ ไว้อย่างไร ในการนี้ถ้าจำเป็นก็ต้องตีความเสียก่อน เช่น
ก.ถ้าเป็นเรื่องสัญญา
ป.พ.พ.ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า จะต้องมี (๑) คำเสนอ และ (๒) คำสนองสอดคล้องต้องกัน จึงจะเป็นสัญญา
ข.ถ้าเป็นเรื่องลักทรัพย์
ป.อาญาวางหลักไว้ว่า ต้องมี (๑) การเอาไป (๒) ทรัพย์ของผู้อื่น (๓) เจตนา (๔)
โดยทุจริต
3.เมื่อทราบหลักเกณฑ์ของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ
แล้ว เช่น ในเรื่องสัญญา หรือเรื่องลักทรัพย์ ก็ต้องลงมือนำข้อเท็จจริงไปปรับกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวนั้น
เช่นในเรืองสัญญา ก็ดูว่าข้อเท็จจริงที่ฟังได้มีคำเสนอและคำสนองครบถ้วน
อันเป็นองค์ประกอบของ “สัญญา” หรือไม่
ในเรื่องลักทรัพย์ก็ดูว่ามีการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น
มีเจตนาและโดยทุจิตหรือไม่ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
4.เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 3 เสร็จแล้ว
เราก็ทราบผลลัพธ์แล้ว
แต่วาข้อเท็จจริงจะปรับเข้าได้กับหลักเกณฑ์ของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ ถ้าปรับข้อเท็จจริงเข้าได้กับหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
เราก็ได้คำตอบที่ต้องการ เช่น ในกรณีสัญญา ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีคำเสนอและคำสนอง
และคำเสนอคำสนองสอดคล้องต้องกัน องค์ประกอบของสัญญาก็ครบบริบูรณ์ สัญญาก็เกิดขึ้น
ในเรื่องลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นการเอาไป
และทรัพย์ที่เอาไปก็เป็นทรัพย์ของผู้อื่น
ทั้งผู้ต้องหามีเจตนาและกระทำการโดยทุจริต องค์ประกอบของ “ลักทรัพย์” ก็ครบบริบูรณ์
ความผิดฐานลักทรัพย์ก็เกิดขึ้น หลักเกณฑ์การใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงนี้
ย่อมใช้ได้ในกรณีการตอบคำถามข้อสอบไล่ด้วย
เมื่อคำถามได้ตั้งเป็นอุทาหรณ์ให้นักศึกษาตอบ
การที่บุคคลสามารถใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงให้ถูกต้อง
ก็ต้องศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายจนมีความรู้ดีเสียก่อน ฉะนั้น
การจำหลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของกฎหมาย จึงเป็นข้อสำคัญของนักกฎหมาย
ถ้าไม่สามารถจำหลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของกฎหมายได้
หรือจำหลักเกณฑ์ได้แต่ไม่เข้าใจ ก็ย่อมใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงไม่ได้โดยถูกต้อง และวิธีแก้ปัญหาที่ดีมีอยู่วิธีเดียว
คือ คิดจากเหตุมาหาผลจากเกณฑ์ 4 ข้อที่ว่า 1. เป็นเรื่องอะร .
มีหลักเกณฑ์ของกฎหมายสำหรับเรื่องนั้นอย่างไร 3. เอาข้อเท็จจริงมาปรับหลักเกณฑ์ 4.
ตอบผลลัพธ์ตามแต่จะเข้าเกณฑ์หรือไม่ ไม่มีวิธีแก้ปัญหาใดที่ดีกว่านี้
เพราะถ้าแก้ปัญหาตามความรู้สึกของตนเองหรือตามที่ตนเห็นว่าเป็นความยุติธรรม
ก็เป็นของแน่ว่าจะไม่มีทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้องได้
ถ้าเผอิญผลลัพธ์จะถูกก็เป็นการถูกโดยบังเอิญ ไม่ใช่ถูกโดยมีเหตุผลประกอบ
คำถามท้ายบท
1.หลักเกณฑ์การใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงมีอย่างไร
2.ในการที่ท่านจะใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงโดยถูกต้องนั้น
ท่านจะต้องปรับปรุงตัวท่านอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น