ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ย่อความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่น่าสนใจ



ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน

1.การอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินตามมาตรา 32 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
     "....การที่มาตรา32วรรคสอง ได้กำหนดให้ถือว่าถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจ ฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด  60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ บุคคลนั้นมีสิทธิครอบครองที่ดินต่อไปนั้น เป็นการ
เร่งรัดให้รัฐมนตรีต้องสั่งการโดยเร็วภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น     ดังนั้น    เมื่อ
ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทย  ที่  1331/2507  เรื่อง 
การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามความในมาตรา 32 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน ลงวัน
ที่ 9 พฤศจิกายน 2507 กำหนดให้ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ยื่นอุททธรณ์ต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประ
จำกิ่งอำเภอท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และให้มีการลงบัญชีรับเพื่อเป็นหลักฐานว่ารับอุทธรณ์วันใด จึงต้องถือว่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้นายอำเภอฯหรือปลัดอำเภอฯรับอุทธรณ์แทน  และจะต้อง
เริ่มนับระยะเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่นายอำเภอฯหรือปลัดอำเภอฯดังกล่าวรับอุทธรณ์เป็นต้นไป..."
(หนังสือ ด่วนที่สุดที่ นร 0601/133 ลว. 21 มกราคม 2536)

2.การจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน
     "....การที่เจ้าของทรัพย์สินและผู้ทรงสิทธิเก็บกินได้ไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินต่อพนักงานเจ้าหน้า
ที่ โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการบอกเลิกสิทธิเก็บกินไว้ล่วงหน้าว่าเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิบอกเลิกเมือใดก็ได้
นั้น         ข้อตกลงดังกล่าวย่อมถือไดว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งใหการให้สิทธิเก็บกินซึ่งผู้ทรงสิทธิเก็บ
กินยอมรับเงื่อนไขนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว      และเป็นข้อตกลงที่ไม่มีวัตถุประสงค์อันเป็นการต้องห้ามตามกฏ
หมาย  อันจะทำให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะแต่ประการใด  ดังนั้น เมื่อเจ้าของทรัพย์สินได้ไปยื่นคำขอจดทะ
เบียนดังกล่าวนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่    พนักงานเจ้าหน้าที่จึงรับจดทะเบียนให้ได้   ส่วนกรณีที่ว่าเจ้า
ของทรัพย์สินจะมอบหมายให้ภริยาซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินด้วยผู้หนึ่ง บอกเลิกสิทธิเก็บกินแทนตนได้หรือไม่
นั้นมีความเห็นว่า การที่ผู้ยื่นคำขอคือเจ้าของทรัพย์สินได้ทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิเก็บกินโดยระบุให้ตนเองและ
ภรรยาเป็นผู้มีสิทธิบอกเลิกสิทธิเก็บกินแก่บุตรทั้งสองก่อนสิ้นกำหนดเวลาได้นั้น  ย่อมถือไดว่าเป็นเงื่อนไข
อย่างหนึ่งในการให้สิทธิเก็บกิน   เมื่อบุตรทั้งสองผู้รับสิทธิเก็บกินยอมรับเงื่อนไขนี้มาแต่ต้น   ข้อตกลงนี้
ก็ย่อมมีผลบังคับได้..."(หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0601/865 ลว.10 ตุลาคม 2533)



3.การถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยขน์
     "....การตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติไม่มีผลเป็นการถอนสภาพที่สาธารณประ
โยชน์แต่อย่างใด     เพราะการถอนสภาพที่สาธารณประโยชน์จะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระ
ราชบัญญัติตามมาตรา  8  แห่งป.ที่ดิน  แต่เนื่องจากที่สาธารณประโยชน์เป็นที่ดินของรัฐและไม่มีผู้ใดสา
มารถอ้างเอาเป็นเจ้าของหรือครอบครองได้   ที่ดินดังกล่าวจึงสามารถกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติได้ 
แห่งพระราชบัญญัติแห่งชาติ .. 2504 เมื่อต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินบริเวณดัง
กล่าวออกจากการเป็นที่สาธารณประโยชน์  ที่ดินนั้นจีงพ้นสภาพจากการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดืนสำ
หรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่เนื่องจากที่ดินดังกล่าวยังเป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ การจะเข้าไปดำเนินการใดฯ 
ในที่ดินนั้นจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ   ..  2504  ซึ่งสำหรับกรณีนี้จะต้องได้รับ
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามมาตรา 16(13) แห่งพราะราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พศ 2504 
(หนังสือที่  นร  1601/1247  ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2530)  หมายเหตุ   การที่ได้กำหนดเขตอุทยาน
แห่งชาติทับซ้อนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าวก็ไม่
เสียไป ทั้งนี้เพราะมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ .. 2504 บัญญัติว่า " ที่
ดินที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิหรือครอบครองโดยชอบด้วยกฏ
หมายของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง"   ซึ่งแสดงว่าไม่ได้ห้ามการกำหนดที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่น
ดินเป็นอุทยานแห่งชาติ    ในเมื่อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นที่ดินของรัฐและไม่มีผู้ใดสามารถอ้าง
เอาเป็นเจ้าของหรือครอบครองได้    ที่ดินดังกล่าวจึงสามารถกำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้ตามกฏ
หมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ.

4.การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
     "....การพิจารณาอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้    หากเห็นว่าเข้าเงื่อนไขที่กำหนดและการโอนนั้นไม่
เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร  คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินก็อนุญาตให้โอนได้  ตามข้อ  27 แห่งประกาศของคณะปฎิวัติ  ฉบับที่  286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และตามข้อ 30 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่ 286 บัญญัติให้สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนั้น ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกแปลงไม่ว่าจะอยู่ในใบอนุญาตของโครงการส่วนใดก็มีสิทธิใช้สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะทุกแห่งในโครงการที่ได้รับใบอนุญาต    แม้ว่าจะมีการโอนใบอนุญาตไปบางฉบับ    ผู้รับโอนจะกระทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งภารจำยอมมิได้  " (หนังสือ ด่วมมาก ที่ นร 0601/570 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 
2538   )  หมายเหตุ  โครงการสาธารณูปโภคที่ได้รับอนุญาตตามข้อ  30  นี้  หมายถึงโครงการทั้งหมดของผู้จัดสรรที่ดินที่ยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน   เมื่อได้รับอนุญาตและได้จัดทำสาธารณูปโภคตาม
โครงการที่อนุญาตเสร็จแล้ว   จึงจะออกใบอนุญาตให้  ดังนั้น  โครงการสารณูปโภคที่ได้รับอนุญาตจึงมีโครงการเดียวและผู้จัดสรรที่ดินก็เป็นคนเดียวกัน       เป็นแต่แบ่งส่วนที่ดินที่จัดสรรออกเป็นใบอนุญาตหลายฉบับ  แม้ว่าจะโอนใบอนุญาตไปบางฉบับ  ผู้รับโอนก็มีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดสรรคนเดิมที่จะต้องให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตามใบอนุญาตฉบับที่ไม่โอนใช้สาธรณูปโภคที่อยู่ในที่ดินส่วนของใบอนุญาตของตน เพราะผู้รับโอนจะกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้ประโยขน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้   และในทางกลับกันผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของผู้รับโอนย่อมมีสิทธิใช้สาธารณูปโภคในส่วนที่อยู่ที่ดินตามใบอนุญาตที่มิได้โอนได้เช่นเดียวกัน.  

5.การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้เยาว์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอน
     "...การที่เจ้าของทรัพย์สินทำนิติกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้รับประโยขน์โดยมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับ
ประโยชน์โอนทรัพย์สิน  และหากมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน  ให้ทรัพย์สินนั้น ตกเป็นสิทธิแก่บุคคลใดบุคลลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยขน์  นั้น ถือได้ว่าเป็นการให้ที่มีเงื่อนไข ดังนั้น การที่นายธวัชชัยฯและนางจารุณีฯ  ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ทำการแทนผู้เยาว์ จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ที่ดินแก่บุตรผู้เยาว์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอน   จึงเป็นการรับให้ซึ่งมีเงื่อนไข  ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามมาตรา  1574(11)  แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิขย์."(หนังสือ  ที่  นร 0601/511 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม    2534)หมายเหตุ    ถือได้ว่าเป็นการให้ที่มีเงื่อนไข   เพราะหากมีการละเมิดการห้ามโอนจะเป็นเหตุทำให้สัญญาให้สิ้นผล  และทรัพย์สินที่ให้ตกไปเป็นสิทธิเด็ดขาดของบุคคลซึ่งระบุไว้ให้เป็นผู้จะได้รับทรัพย์สินนั้น.

6.ปัญหาข้อกฏหมายตามมาตรา 9 และมาตรา 12 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
     "...สำหรับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นที่ดินที่มีกฏหมายคุ้มครองไว้เป็นพิเศษ      การใช้และการจัดการจะต้องมุ่งรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ร่วมกันของประชาชนตามวัตถุประสงค์ที่จัดให้มีที่ดินดังกล่าวเป็นสำคัญ     แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ถึงกับเป็นการผูกมัดมิให้มีการจัดการที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคมเสียทีเดียว   การให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในระยะเวลาที่ไม่ยาวนักและเป็นการสอดคล้องหรือไม่ขัดขวางต่อการที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันจึงสามารถกระทำได้ ส่วนการให้เข้าประโยขน์ในลักษณะเช่นใด  และในระยะเวลายาวเพียงใดจึงจะถูกต้องตามหลักกฏหมายย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป   แต่โดยที่อำนาจอนุญาตตามมาตรา  9  เป็น
ของพนักงานเจ้าหน้าที่  ในขณะที่อำนาจอนุญาตตามมาตรา 12 เป็นของรัฐมนตรี การอนุญาตตามมาตรา 9 โดยความมุ่งหมายของกฏหมายจึงย่อมใช้กับกรณีอันเป็นเรื่องเล็กน้อย และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฏกระ
ทรวงที่ออกตามมาตรา 12 นั้นด้วย. (หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0601/696 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2524)


7.หารือปัญหาข้อกฏหมายเกียวกับที่ราชพัสดุในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
     "...ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการที่จะถือได้ว่าเป็นที่ราชพัสดุนั้น    จะต้องเป็นที่ดินที่ส่วนราชการได้เข้าใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ที่หวงห้ามนั้นแล้ว   ซึ่งตรงกับทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา 1304(3) แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการที่สว่นราชการยังไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ ยังคงมีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าต่อไป และไม่เป็นที่ราชพัสดุ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินที่เป็นปัญหาที่   กฟผ.ขอใช้นี้เป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหววงห้ามเพื่อประโยชน์ของทางราชการทหาร   แต่ทางราชการทหารยังไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์เลย  ที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นที่ราชพัสดุ.  (หนังสือ  ที่ นร 0601/667 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2534 )


8.หารือปัญหาข้อกฏหมายเกี่ยวกับมาตรา 59 ตรี แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
     "...หลักเกณฑ์การกำหนดเนื้อที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามมาตรา  59  ตรี แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน ใช้บังคับกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งวิธีการเดินสำรวจรังวัดตามมาตรา  58 และมาตรา 58 ทวิ และวิธีการขอออกเฉพาะรายตามมาตรา  59 หาใช่บัญญัติไว้เพื่อใช้กับกรณีตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ โดยเฉพาะไม่. (หนังสือ ที่  นร  0601/364  ลงวันที่  27  มีนาคม  2534) หมายเหตุ ที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายนั้น  แม้ว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำ
รวจรังวัดตามมาตรา 58 ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินก็ยังขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายได้ ดังนั้น เมื่อนำมาตรา 59 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการคำนาณเนื้อที่เพื่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาใช้บังคับกับที่ดินที่ขออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายตามมาตรา  59  แล้ว หากไม่นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 59 ตรี มาใช้บังคับกับที่ดินแปลงอื่นๆ  ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำรวจรังวัดตามมาตรา  58  และมาตรา  58  ทวิ  ซึ่งผู้มีสิทธิครอบครองมิได้ขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย   ผลที่เกิดขี้นก็คือจะเป็นการใช้บังคับกฏหมายไม่เหมือนกันทั้งๆที่เป็นที่ดินที่อยู่ในเขตที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำรวจรัง
วัดเหมือนกัน  อีกทั้งเมื่อมีปัญหาในการคำนวณเนื้อที่ผิดไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพ...ให้ใช้ .ที่ดิน 2497 ก็จะเกิดปัญหาในทางปฎิบัติว่าจะกำหนดเนื้อที่โดยใช้หลักเกณฑ์อะไร.

9.หารือปัญหาข้อกฏหมาย
     "....อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ยังมีหน้าที่ที่จะต้องออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (..3) ให้สมาชิกนิคมภายหลังประกาศกำหนดวันสิ้นสภาพของนิคมแล้ว   เพราะเมื่อสมาชิกนิคมได้ปฎิบัติครบถ้วนตามมาตรา  11  แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  .. 2511 แล้ว มาตรา 11 ดังกล่าว ได้กำหนดหน้าที่ให้อธิบดี   ต้องออก .. 3 ให้เพื่อให้สมาชิกนิคมนั้นจะนำไปขอให้ออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฏหมายที่ดินได้ต่อไป  "  (หนังสือ ที่ นร 0501/1981 ลงวันที่ 19  .. 2527)  หมายเหตุ  เพราะสมาชิกนิคมเหล่านั้นมิสิทธิครบถ้วนที่จะได้รับหนังสือแสดงการทำ
ประโยชน์ตามมาตรา 11 อยู่ก่อนแล้ว.

10.หารือปัญหาข้อกฏหมาย ( "ที่ชายตลิ่ง" และ "ที่ในทะเลชายฝั่งที่อยู่ใต้น้ำ" )
     "...1. การปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งใดรุกล้ำ "ที่ชายตลิ่ง" ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ  อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน  หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย อันอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 
         2.ต้องถือจุดแบ่งเขตระหว่าง  "ที่ชายตลิ่ง"  ซึ่งหมายถึงที่ดินซึ่งตามปกติน้ำขึ้นถึง  กับที่ดินส่วนที่อยู่เหนือ  "ที่ชายตลิ่ง"ขึ้นไป  เป็นจุดแบ่งแยกขอบเขตความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 
     
         3.ความเห็นตาม  1  และ 2 ย่อมใช้กับกรณีของแม่น้ำ ลำคลอง ได้ด้วย ตามมาตรา 117 
แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านไทย พระพุทธศักราช 2456 " (หนังสือที่ นร 0501/356 ลงวันที่ 5  กุมภาพันธ์  2528)  หมายเหตุ คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฏหมายคณะที่ 1) ได้คำอธิบายของคำว่า "ที่ชายตลิ่ง" ไว้แล้วว่า "หมายถึงที่ดินที่อยู่ติต่อกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ ทะเล ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมถึงทุกปี"  ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา  (กรรมการร่างกฏหมายคณะที่8) เห็นว่า กรณีย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า "ที่ชายตลิ่ง" หมายถึงที่ดินส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำในขณะที่น้ำขึ้นถึงตามปกติและอยู่เหนือน้ำในขณะที่น้ำลง  ส่วน  "ที่ในทะเลชายฝั่งซึ่งอยู่ใต้น้ำ" น่าจะหมายถึงส่วนที่อยู่ถัดจาก "ที่ชายตลิ่ง" ออกไปในทะเล โดยเป็นส่วนที่แม้แต่ในขณะน้ำลง ก็ยังจมอยู่ใต้น้ำ.

11.หารือปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้และแผ้วถางป่าในที่ดินซี่งมีพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง
     "....1.ที่ดินในเขตพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินเพื่อประโยชน์ในราชการของกระทรวง  ทบวง กรม ต่าง และที่ดินที่จัดขึ้นทะเบียนเพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ประโยชน์ในราชการจะเป็นที่ราชพัสดุหรือ
ไม่นั้น  จะต้องพิจารณาสภาพของที่ดินและการใช้ที่ดินที่หวงห้ามเป็นเรื่องๆไป เช่น ที่ดินที่หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะและราชการได้ใช้ที่ดินนั้นตามวัตุประสงค์ที่หวงห้ามไว้ ที่ดินดังกล่าวก็เป็นที่ราชพัสดุ  แต่ถ้าหวงห้ามโดยราชการมิได้ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ  เช่นหวงห้ามไว้เพื่อรักษาป่าไม้และสภาพที่ดินยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ ที่ดินนั้นก็ไม่เป็นที่ราชพัสดุ
          2.ที่ดินตามข้อ 1 อาจมีลักษณะตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ได้ ถ้าที่ดินนั้นยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฏหมายที่ดินและมีไม้หวงห้ามหรือของป่าขึ้นอยู่ในที่ดิน   ที่ดินดังกล่าวย่อมอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฏหมายว่าด้วยป่าไม้ และไม่เป็นที่ราชพัสดุถ้ากระทรวง ทบวง กรม ยังมิได้เข้าไปใช้
ที่ดินนั้น 
          3.ในกรณีที่ที่ดินตามข้อ 1 มีสภาพเป็น "ป่า" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและรับผืดชอบที่ดินดังกล่าวในส่วนกิจการอันเกี่ยวกับการป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้เพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินหรือการขอขี้นทะเบียนที่ดิน  แต่ในกรณีที่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุฯ เพราะกระทรวง ทบวง กรม ได้ใช้ป่าเพื่อประโยชน์ของกระทรวง  ทบวง  กรมโดยเฉพาะ กระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์และทบวงการเมืองผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้และครอบครองที่ดินดังดล่าวย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุัมครองป้องกันที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ  ...." (หนังสือ ด่วนมาก ที่ นร 0601/519 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2534)

12.หารือปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเกิดที่งอกริมตลิ่ง
     "....ที่งอกริมตลิ่งที่เกิดจากที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าตามมาตรา 1304(1) แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และยังไม่อาจถือได้ว่าเป็น
ป่าสงวนแห่งชาติจนกว่าจะได้ดำเนินการออกกฏกระทรวง  และปฎิบัติการอย่างอื่นตามที่พระราชบัญญัติป่าสวงนแห่งชาติ .. กำหนดไว้แล้ว " (หนังสือ ที่ สร 0601/379 ลว. 18 มีนาคม 2526)

13.หารือการจดทะเบียนตามคำพิพากษาตามยอม
     "....เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้กรรมสิทธิในที่ดินบางส่วนตามโฉนดเลขที่  4649  ตกเป็นของผู้ครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา    1382    แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิช์และคดีถึงที่สุดแล้ว   ผู้ครอบครองปรปักษ์จึงเป็นผู้มีสิทธิขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่ดินส่วนที่ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดแปลงนี้ได้ตามมาตรา  78 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน และหากมีการโอนกรรมสิทธิในที่ดินดัง
กล่าวต่อไป ผู้รับโอนย่อมได้รับสิทธิเพียงเท่าที่เจ้าของกรรมสิทธิรวมผู้โอนจะพึงมีได้ในที่ดินที่เหลืออยู่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องดำเนืนดารจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ครอบครองปรป้กษ์ทั้ง
หมดก่อน  เพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่เหลืออยู่ที่นางสาวสมคิด  และเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมผู้อื่นยังคงมีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว   แล้วจึงจะรับจดทะเบียนการโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนระหว่างนางสาวสมคิดฯ  กับ นายยงยุทธฯ ตามคำพิพากษาตามยอมได้ต่อไป " (หนังสือ ดว่นที่สุด ที่ นร 0601/664  ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2534) หมายเหตุ  เรื่องนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขณะที่นางสาวสมคิดฯยื่นขอจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนตามโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายยงยุทธ์ฯ     ตามคำพิพากษาตามยอมนั้น     นางสาวสมคิดฯได้แนบคำพิพากษาของศาลที่สั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินแปลงนี้บางส่วนตกเป็นของผู้ครอบครองปรปักษ์มาแสดง พร้อมกับการยื่นขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฏหมายที่ดินด้วย กรณีเช่นนี้ จึงมีเหตุที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้อวสอบสวนการมีกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้แน่ชัดเสียก่อน  ตามมาตรา  74  แห่งประมวบกฏหมายที่ดิน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ยินยอมจดทะเบียนโอกรรมสิทธิ์ให้แก่นายยงยุทธฯ    ในขณะที่มีการยื่นคำขอ    จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฏหมายแล้ว.

14.หารือปัญหาข้อกฏหมายกรณีนางมณีรัตน์  ชูประภาวรรณ กับพวก ขอปลูกสร้างอาคารที่ประกอบการพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว
     "....บทบัญญัติต่างๆ ในประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน .. 2515 มีผลบังคับเฉพาะผู้จัดสรรที่ดินเท่านั้น  หามีผลบังคับผู้ซื้อที่ดินจัดาสรรไม่  การที่นางมณีรัตน์ฯ กับพวก ซึ่งได้ซื้อที่ดินจัดสรรแปลงย่อยประเภทบ้านเดี่ยว    และจะปลูกสร้างอาคารที่ประกอบการพาณิชย์ในที่ดินจัด
สรรที่ได้รับโอนไปแล้ว  จึงไม่ขัดกับประกาศของคณะปฎิวัติฉบับดังกล่าว.."(หนังสือ ที่ นร 0601/1960 ลงวันที่  14  ตุลาคม 2530) หมายเหตุ  การที่จะควบคุมให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะต้องปฏิบัติให้ฌป็นไปตาม
แผนผังและโครงการหรือวิธีการในการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการผังเมืองเพื่อผลในทางเศรษฐกิจ  สังคมและการผังเมืองตามเจตนารมย์ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 อาจนำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. 2522 มาใช้บังคับประกอบกันได้.
 
15.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่แฮปปี้โฮมดีเวลลอปเมนท์ ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
     "...ที่ดินประเภทขนบทและเกษตรกรรมตามกฏกระทรวงฉบับที่ 7 (..2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2518 สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการจัดสรรที่ดินตามกฏหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินได้ เนื่องจากข้อ 12(1)แห่งกฏกระทรวงดังกล่าวกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมเฉพาะกิจการค้าที่ดินตามประมวลกฏหมายที่ดินที่มีการแบ่งแยกแปลงที่ดิน เพื่ออยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์ หรือประกอบการอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ไม่ห้ามการจัดสรรที่ดินตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน และบทบัญญัติข้อ 12(1)แห่งกฏกระทรวงดังกล่าวมิได้มีความขัดแย้งกันในตัวแต่ประการใด" (หนังสือ ด่วนมาก ที่ นร 0601/987 ลว. 15 ธันวาคม 2531) หมายเหตุ
การค้าที่ดินตามประมวลกฏหมายที่ดินนั้นแตกต่างจากการจัดสรรที่ดินตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน กล่าวคือ "การค้าที่ดิน" หมายถึง การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งที่ดินเพื่อประโยชน์ในกิจการค้าหากำไร โดยวิธีขาย แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซิ้อที่ดิน แต่ "การจัดสรรที่ดิน" หมายถึงการจำหน่ายที่ดินที่ติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด และมีการให้คำมั่นหรือแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูโภคหรือบริการสาธารณะ หรือปรับปรุงใหืที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม จึงเห็นว่าการจัดสรรที่ดิน..อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ...ได้รับยกเว้นให้กระทำได้ในเขตผังเมืองรวมก็เพราะมีการควบคุมให้เป็นไปตามหลักวิชาการผังเมืองอยู่แล้ว แต่การค้าที่ดินตามกฏหมายที่ดินที่มีการแบ่งแยกแปลงที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ฯลฯ นั้น มิได้มีการควบคุมในส่วนที่เกี่ยวกับการผังเมือง และการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการค้าที่ดินดังกล่าว แม้จะเนชรียกกันทั่วไปว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ก็มิใช่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จึงต้องห้ามมิให้กระทำในเขตผังเมืองรวมดังกล่าว.


16.หารือปัญหาข้อกฏหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา "หนองหาน"

     "...ที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เป็นเขตหวงห้ามที่ดินเพื่อประโยชน์ในการบำรุงพันธ์สัตว์น้ำตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 ซึ่งจากวัตถุประสงค์ของการหวงห้ามทิ่ดินดังกล่าวประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าประชาชนได้เข้าไปทำการประมงในบริเวณ "หนองหาน" มาโดยตลอด จึงแสดงว่าการสงวนหวงห้ามที่ดินดังกล่าวเป็นการสงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองได้ใช้ร่วมกัน ฉะนั้น ที่ดินบริเวณนี้ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304(2)แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และเนื่องจากที่ดินดังกล่าวได้สงวนหวงห้ามไว้โดยกำหนดวัตถุประสงค์เป็นพิเศษให้ใช้เป็นที่บำรุงพันสัตว์น้ำ กรมประมงจึงมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่พระราชการประมง .. ๒๔๙๐ ได้บัญญัติไว้ อย่างไรก็ตามนายอำเภอแห่งทอ้งที่ ก็ยังคงมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปที่จะดูแลรักษาที่ดินบริเวณนี้อยู่ด้วยตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช ๒๔๙๗ ประกอบกับข้อ 57 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่ออำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของกรมประมง
     โดยเหตุนี้ อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จึงเป็นทั้งของกรมประมงและนายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการดูแลรักษาด้วยกันตามขอบเขตและความมุ่งหมายของบทบัญญัติของกฏหมาบที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ แต่ไม่อาจอนุญาตให้บุคคลใด เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณนี้ให้เป็นประการอื่นที่แตกต่างไปจากวัตุประสงค์ของการสงวนหวงห้ามไว้หรือเป็นการขัดขวางต่อสภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนได้แต่อย่างใด " (หนังสือ ด่วนมาก ที่ นร 0601/055 ลงวันที่ 22 มกราคม 2533) 

17.ปัญหาข้อกฏหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

     "....เจตนารมณ์ของกฏหมายกำหนดไว้ให้มีการปิดประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามสถานที่ต่างๆให้ครบถ้ววนถูกต้อง การที่นายอำเภอซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฏหมายที่ดินดำเนินการปิดประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมครบถ้วน..และในกฏกระทรวงดังกล่าวมิได้กำหนดให้นายอำเภอปิดประกาศ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวแล้วเห็นว่า นายอำเภอได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว ต่อมาเมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประมวลกฏหมายที่ดินตามมาตรา19 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) .. 2528 การปิดประกาศของนายอำเภอดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฏหมายแล้ว
     ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเห็นว่าเมื่อมีประกาศกระทรวงวมหาดไทยให้ยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ หลังจากที่นายอำเภอได้ดำเนืนการปิดประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมครบขั้นตอนที่กฏหมายกำหนดแล้ว แม้ว่าประกาศดังกล่าวจะยังไม่ครบกำหนดเวลาที่กำหนดหรือครบกำหนดแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อจากนายอำเภอย่อมมีอำนาจรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้โดยไม่ต้องทำการปิดประกาศเพิ่มเติม ..อีก (หนังสือ ด่วนมาก ที่ นร 0601/452 ลว. 31 พฤษภาคม 2533) 
     หมายเหตุ  การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญ มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามแบบ ..3 ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฏกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 (.. 2497) ข้อ 5 และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฏกระทรวงดังกล่าว ข้อ 6 แม้ว่าจำเลยจะได้ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้แล้วก็ดี นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้ จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฏกระทรวง ข้อ 5 เสียก่อน เมื่อไม่กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรมไม่  

18.การกำหนดสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว

     "...การที่มาตรา 97 แห่งประมวลกฏหมายที่ดินได้บัญญัติให้นิติบุคคลบางประเภทมีสิทธิในที่ดินได้เสือนคนต่างด้าวและมาตรา 99 แห่งประมวลกฏหมายที่ดินได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติตามความในหมวด 8 ว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าวมาใช้บังคับกับการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินของนิติบุคคลตามมาตรา 97 นั้น แสดงว่าประมวลกฏหมายที่ดินมุ่งหมายที่จะจำกัดสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินของนิติบุคคลตามมาตรา 97 ให้อยู่ในฐานะที่ไม่แตกต่างจากสิทธิที่คนต่างด้าวจะได้รับ ดังนั้น การได้มาซึ่งที่ดินของนิติบุคคลตามมาตรา 97 จึงต้องอยั่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 86 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฏหมายที่ดินด้วย กล่าวคือ จะได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินต่อเมื่อมีบทสนธิสัญญาให้คนต่างด้าวมีสิทธิได้ตามหลักเกณฑ์แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน เมื่อปัจจุบันไม่มีสนธิสัญญาใดระบุให้คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา 97 มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย สมาคมทีมีสมาชิกเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนซึ่งเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 97 จึงไม่อาจได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินตามประมวลกฏหมายที่ดิน..."(หนังสือ ด่วนมาก ที่นร 0601/1059 ลลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533) หมายเหตุ  มาตรา 98 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อันเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประมวลกฏหมายที่ดินว่าไม่ต้องการให้คนต่างด้าวสามารถถือครองที่ดินในประเทศไทยได้โดยง่าย...และตามความในมาตรา 99 ก็แสดงให้เห็นว่าประมวลกฏหมายที่ดินมุ่งหมายที่จะจำกัดสิทธิในการได้มาซี่งที่ดินของนิติบุคคลตามมาตรา 97 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจจัดการเป็นส่วนใหญ่ไว้เป็นพิเศษ โดยให้การมีสิทธิได้มาซึ่งที่ดินอยู่ในฐานะที่ไม่แตกต่างจากสิทธิที่คนต่างด้าวจะได้รับตามประมวลกฏหมายที่ดิน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นมาตรการการคุ้มครองที่ดินในประเทศไทยมิให้ตกอยู่ในอำนาจจัดการของคนต่างด้าวได้โดยง่าย

19.หารือเกี่ยวกับอำนาจของ ... ในการนำที่ดินที่ได้จัดซื้อไว้ไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินของเอกชน

     "....แม้ว่า ... จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ ... ได้มาก็ตาม แต่ ... จะต้องใช้ที่ดินดังกล่าวในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราบบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งจากหลักเกณฑ์ตามมาตรา 30 นี้ ... ม่มีอำนาจนำที่ดินที่ได้จัดซื้อไว้ไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินของเอกชน และถึงจะใช้วิธีการซื้อที่ดินของเอกชน โดยเปิดโอกาสให้เอกชนซึ้อที่ดินแปลงอื่นของ ... โดยอาศัยอำนาจตามาตรา 30 วรรค 5 ก็ไม่อาจกระทำได้เช่นกัน เพราะข้อเท็จจริงตามที่หารือมานี้ ปรากฏว่าเอกชนประสงค์จะได้ที่ดินไว้เป็นที่ทำกิน มิได้ใช้ที่ดินสำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคห้า..." (หนังสือที่ นร 0601/120 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533) 
     หมายเหตุ : การที่มาตรา 36 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม .. 2518 ซี่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 3) .. 2532 บัญญัติว่า บรรดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดๆที่ ... ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ... เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นั้น หมายความว่า แม้ว่า ... จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวก็ตาม แต่ ... ต้องใช้ที่ดินเหล่านั้นในการปฏิรูปที่ดินที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น

20.หารือปัญหาข้อกฏหมายเกี่ยวกับการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ ตามาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ .. 2530 

     "...ในกรณีที่มีการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ รัฐไม่จำต้องเวนคืนหรือจดซี้อโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามาตรา 19 แต่อย่างใด..." (หนังสือ ที่ นร 0601/830 ลงวันที่ 28 กันยายน 2533)

21.หารือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนแห่งกรรมสิทธิในทรัพย์ส่วนกลาง

     "...ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางที่ได้กำหนดไว้ในขณะจดทะเบียนอาคารชุดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฏหมาย เจ้าของห้องชุดหรือผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยดำเนินการตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด .. 2522 แต่จะแก้ไขโดยอาศัยมติที่ประชุมเจ้าของห้องชุดให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้..."(หนังสือ ที่ นร 0601/842 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2534)

22.การจดทะเบียนอาคารหลายอาคารเป็นอาคารชุดหนึ่งอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด .. 2522
     คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2) มีความเห็นว่า อาคารซึ่งจะได้ชื่อว่าเป็น" อาคารชุด" ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด .. 2522 จะต้องเป็นอาคารที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตั้งอยู่บนที่ดินที่มีโฉนดและได้จดทะเบียนที่ดินและอาคารให้เป็นอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ เมื่อได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว กฏหมายจะให้สิทธิบุคคลแต่ละคนสามารถแบ่งแยกการถือกรรมสิทธิในอาคารหลังเดียวกันออกเป็นส่วนๆ และกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดแต่ละส่วนนั้นประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ 2 ประเภทด้วยกัน คือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ห้องชุดแต่ละห้องชุดและอาจรวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่จัดไว้ให้แก่เจ้าของห้องชุดแต่ละราย หรือที่ดินที่จัดไว้ให้เจ้าของห้องชุดแต่ละราย และกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง อันได้แก่ ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด เช่น โครงสร้างตัวอาคารและที่ดินซึ่งเป็นที่ปลูกสร้างอาคารและทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น บันได ระเบียง กันสาด ดาดฟ้า ฯลฯ
     เมื่อเจ้าของโครงการได้จดทะเบียนอาคารชุดและได้รับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดแล้ว ถ้าประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด จะต้องจัดให้มีองค์กรหนึ่งเพื่อดูแลจัดการรักษาทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเรียกว่า "นิติบุคคลอาคารชุด" โดยขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ และจะต้องมีผู้จัดการเป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุด การดำเนินงานของผู้จัดการหรือนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของที่ประชุมใหญ่ของเจ้าของห้องชุดทั้งหมด และเจ้าของห้องชุดทั้งหมดจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งโดยเลือกจากเจ้าของห้องชุดด้วยกันเองจำนวนไม่เกิน 9 คน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการของนิติบุคคลอาคารชุดก็ได้ เมื่อได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุด ได้รับหนังสือกรรมสิทธิห้องชุดและได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว อาคารชุดแห่งนั้นจะตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ กล่าวคือ หนังสือกรรมสิทธิห้องชุดแต่ละฉบับจะมีค่าเท่ากับโฉนด สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทุกประเภทได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน และมีบทบัญญัติว่าด้วยการใช้สอยทรัพย์สินส่วนกลางร่วมกัน การเสียค่าใช่จ่ายร่วมกันเพื่อการบริการส่วนรวมและค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด สำหรับตัวโฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชุดนั้นกฏหมายบังคับว่า ต้องหยุดใช้ชั่วคราว โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องบันทึกไว้ในโฉนและเก็บโฉนดต้นฉบับนั้นไว้ตราบเท่าที่อาคารดังกล่าวยังเป็นอาคารชุด จนกว่าจะมีการจดทะเบียนเลิอาคารชุด จึงจะนำโฉนดเดิมมาใช้ตามปกติต่อไป (หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ มท 0605/02906 ลว. 1 กุมภาพันธ์ 2537 )

23.การใช้ที่ดินที่มี ..3 หรือโฉนดที่ดิน ในเขตนิคมสร้างตนเอง
          ที่ดินใดทีมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่แล้วก่อนการจัดตั้งนิคมหรือได้รับภายหลังแต่เป็นการได้รับสิทธิต่อเนื่องมาจากการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นก่อนมรการจัดตั้งนิคม จึงมิใช่ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้ประชาชนเข้าไปตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง ...จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ .ศง 2511 ผู้ที่ครอบครองที่ดินนั้นอยู่แล้วจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีสิทธิใช้ประโยยชน์ในที่ดินของตนในกิจการต่างๆได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ แต่สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิตาม ... ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณท์ของ ... ดังกล่าว  และการดูแลทรัพย์สินของนิคมก็อยู่ในอำนาจของอธิบดีที่จะกำหนดเป็นระเบียบขึ้นตามมาตรา 17 - ข้อพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 6 (กรมที่ดินที่ มท 0719ลว  16301 ลว. 22 ..2534)

24.ถอนสภาพที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน
          คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการร่างกฏหมาย คณะที่ 1) เห็นว่า การถอนสภาพในที่นี้หมายถึง ถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม 1304(2) ... และเมื่อถอนแล้วที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่ ส่วนจะเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 4 แห่ง ... ราชพัสดุ หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาเหตุผลของรัฐในการถอนสภาพประกอบด้วย (กระทรวมหาดไทย ที่ มท 0711/ 1046 ลว. 7 ..2529)

25.ผู้จัดการมรดกกขอขายที่ดินขายทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
          เมื่อเจ้ามรดกระบุในพินัยกรรมว่าให้นำทรัพย์มรดกไปจัดตั้งมูลนิธิ ผู้จัดการมรดกขะนำปไปขายเพื่อนำเงินไปดำเนินการตามวัตุประสงค์ของเจ้ามรดกต่อไปไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการขายทรพย์มรดกตามพินัยกรรมตามคำขอของผู้จัดการมรดก เพราะข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกมิได้ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม และเป็นไปตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติมาตรา 1731  มาตรา 1732 และมาตรา 118 ... นอกจากนั้น ในการปฏิบัติราชการ เมื่อข้อเท็จจริงปรากกต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า มีผู้ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย และการไม่ปฏิบัติตามกฏหมายนั้นเป็นเรื่องที่อยูั่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นที่จะดูแลรักษา เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นทราบและดำเนินการตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กกหมายได้กำหนดให้เป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น (กรมที่ดินที่ มท0610/ 30038 ลว. 28 .. 2538)

26.เวนคืน/แลกเปลี่ยนที่ดิน
          
          พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนหมดอายุลงและไม่มีพระราชกฤษฎีกาลักษณะเดียวกันประกาศใช้บังคับอีก มีเพียงแต่การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีการจ่ายค่าที่ดินไปแล้วเพียงบางส่วนตั้งแต่พ.. 2508 แต่ยังไม่ครบถ้วน โดยยังมิได้มีการทำสัญญาซื้อขาย และยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรรมสิทธิในที่ดินของผู้จะขายจึงยังไม่โอนไปยังผู้จะซื้อตามมาตรา 456 ประกอบกับมาตรา 1299 แห่ง ... นอกจากนี้ยังเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญ่จะซื้อจะขายดังกล่าวตอ่ไปได้ เนื่องจากล่วงเลยกำหนดสิบปีตามนัยมาตรา 193/30 แห่ง ...ที่ดินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นทรพย์สินของแผ่นดิน....(กรมที่ดินที่ มท 0610/ 6193 ลว.9 มี.. 2538)

27.ข้อกฏหมายในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาำกหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนหมดอายุลง
         (1)  เมื่อพระราชกฤษฎีกาหมดอายุลง มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจเข้าสำรวจ ตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอีกต้อไป คณะกรรมการตามมาตรา 9 ก็ไม่มีอำนาจกำหนดราคาเบื้องต้นได้อีก คณะกรรมการแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 10 ทวิ จึงมีอำนาจแก้ไขราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ได้เฉพาะในรายที่ได้จ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนไปแล้วภายในอายุของพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น และในส่วนนี้การทางพิเศษฯมีหน้าที่ต้องแจ้งผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มขึ้นตามมาตรา 10 ทวิ วรรคสาม
          (2)การพิจารณาอุทธรณ์จำนวนเงินค่าทดแทนเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนภายหลังจากดำเนินกระบวนการเวนคืนเพื่อให้ตกเป็นของรัฐมีผลตามกฏหมายเสร็จสิ้นไปแล้ว และการพิจารณาอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาอีก แต่เป็นการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรพย์ ..2530 ฉะนั้น แม้ว่าพระราชกฤษฎีกาจะหมดอายุลงแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และกระทรวงมหาดไทยจึงยังคงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ได้ต่อไปตามมาตรา 25 ซึ่งได้บัญญัติการพิจารณาอุทธรณ์ราคาค่าทดแทนที่มีการกำหนดเพื่มขึ้นตามมาตรา 10 ทวิ ได้ด้วย
          (3)มาตรา 10 บัญญัติให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตกลงซื้อขายและพิจารณากำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนได้เฉพาะในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับเท่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกาหมดอายุลงการทางพิเศษจึงไม่มีอำนาจเจรจาตกลงซื้อขายกับเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สำหรับรายที่ยังมิได้เคยมีการตกลงซื้อขานมาก่อนได้อีกต่อไป (กรมที่ดินที่ มท 0610ฝว 02760 ลว.2 .. 2536)

28.หารือเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในเขตป่าไม้ตามมาตรา 59 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
          คณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฏหมายว่า ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฏหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องแจ้งการครอบครอง (..1) หรือต้องได้รับการผ่อนผันการแจ้งการครอบครองจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 5 แห่งพ...ให้ใช้ป.ที่ดิน .. 2497 เสียก่อน จึงจะขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตป่าไม้ได้ เพราะผลของการไม่แจ้งการครอบครอง (..1) ถือได้ว่าบุคคลนั้นสละสิทธิครอบครองที่ดิน รัฐมีอำนาจจัดที่ดินดังกล่าวตามบทแห่งประมวลกฏหมายที่ดินได้ และการกำหนดป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ หรือมีมติคณะรัฐมนตรีให้สวงนไว้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติ ทำให้ที่ดินดังกล่าวต้องห้ามมิให้ออหโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามกกกระทรวงฉบับที่ 5 (..2497) โดยป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ถือเป็นที่สงวนหวงห้ามตามกฏหมายเฉพาะ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีถือเป็นที่ดินที่ทางราชการเห็นว่า ควรสงวนไว้เพื่อทรัพากรธรรมชาติ ตามหนังสือ ด่วนมากที่ นร 0601/1146 ลว. 22 .. 2535 (หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ 6619/ 36921 ลว. 3 .. 2535) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น