ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไม่แต่เพียงศาลเท่านั้นที่เป็นผู้แปลกฎหมาย ผู้ใช้กฎหมายทั่ว ๆ ไปย่อมมีอำนาจแปลได้ด้วย

กรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้ในคำวินิจฉัยที่ ๑๘/๒๕๔๖ ดังนี้

".....ซึ่งเป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่า ผู้ใดจะต้องใช้กฎหมาย ผู้นั้นย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยบืบัญญัติของกฎหมายนั้น...."

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ ๑๘/๒๕๔๖ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม .. ๒๕๔๖
เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๖๖ กรณีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาว่าคณะกรรมการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งเป็นบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ ()
………………………………………………………………………………………………………
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (นายพิเชต สุนทรพิพิธ) ผู้ร้องได้เสนอเรื่องพร้อม
ความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีปัญหา
เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ ()
และมาตรา ๑๙๘ เป็นคำร้องลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๕
ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ สรุปว่า
พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ สมาชิกวุฒิสภาและคณะรวม ๓๒ คน ได้ยื่น หนังสือ
ร้องเรียนขอให้ผู้ร้องในฐานะผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาวินิจฉัยว่า กระบวนการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเสนอเรื่องพร้อม
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
ความเห็นต่อ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่ากระบวนการสรรหาดังกล่าวขัดต่อ
รัฐธรรมนูญ
ผู้ร้องเห็นว่า การวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ต้องพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่า
คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง เป็นบุคคลตามมาตรา ๑๙๗ () ของ
รัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องได้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งเป็นคณะ กรรมการที่ถูกกำหนดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๘ ()
โดยกำหนดหน้าที่ให้ดำเนินการสรรหา บุคคลซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความ
ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์เพื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภา และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วก็
สิ้นสุดหน้าที่ อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดบัญญัติให้คณะกรรมการ
สรรหาดังกล่าว เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เรื่องร้องเรียนดังกล่าว จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่
ของผู้ร้องที่จะรับไว้พิจารณาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ และคณะรวม ๒๙ คน ยื่นหนังสือถึงผู้ร้อง โต้แย้งว่า
คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๙๗ () คำวินิจฉัยของผู้ร้องที่วินิจฉัยว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจ
หน้าที่ของ ผู้ร้อง จึงมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖
ผู้ร้องพิจารณาหนังสือโต้แย้งของพลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ และคณะ ซึ่งโต้แย้ง
คำวินิจฉัยของผู้ร้องแล้ว เห็นว่า ความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้โต้แย้งกับผู้ร้องนำไปสู่
ปัญหาความขัดแย้งกันในประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญระหว่างผู้
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
ร้องในฐานะ ที่เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ
พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการ
ส่วนท้องถิ่นกับกลุ่มสมาชิก วุฒิสภาซึ่งสังกัดวุฒิสภาในฐานะผู้แทนประชาชนให้ทำหน้าที่
ในฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งปัญหาความ ขัดแย้งดังกล่าวเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจ
หน้าที่ของผู้ร้อง เป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ร้อง และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น
จริง
ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจพิจารณาว่า คณะกรรมการ สรรหา
กรรมการการเลือกตั้งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของผู้ร้อง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ ()
เพื่อพิจารณาเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๘ หรือไม่
ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้น คือ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำ
ร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ หรือไม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
มาตรา ๑๙๖ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกินสามคน ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรง
แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความ รอบรู้
และประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์
ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน ของ
รัฐสภา
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา และการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา ให้
เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหา กษัตริย์
ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
มาตรา ๑๙๗ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
() พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
() การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ
ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น
() การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วย
ราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วย
อำนาจ หน้าที่ก็ตาม
() กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
() จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
มาตรา ๑๙๘ ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดตามมาตรา ๑๙๗ () มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบ
ด้วย รัฐธรรมนูญ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาล
รัฐธรรมนูญหรือ ศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยวิธีพิจารณา
ของศาลรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลปกครอง แล้วแต่กรณี
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
ให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง แล้วแต่กรณี พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภาเสนอตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๒๖๖ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ตาม รัฐธรรมนูญ ให้
องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณา
วินิจฉัย
ผู้ร้อง คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๖ บัญญัติให้มี
ขึ้น และกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในมาตรา ๑๙๗ และมาตรา ๑๙๘ ผู้ร้องจึงเป็นองค์กร ตาม
รัฐธรรมนูญ ซึ่งหากผู้ร้องมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ร้องก็เป็นผู้มีสิทธิ
ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ แต่คำร้องดังกล่าวที่ศาล
รัฐธรรมนูญ จะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จะต้องเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่
ของผู้ร้องเกิดขึ้นจริง
พิจารณาแล้ว เห็นว่า กรณีตามคำร้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ผู้ร้องมีอำนาจ
พิจารณาว่า คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของ
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ () เพื่อพิจารณาเสนอเรื่องให้
ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
๑๙๘ หรือไม่ ซึ่งหมายความว่า ผู้ร้องมีอำนาจพิจารณาว่า "คณะกรรมการสรรหากรรมการ
การเลือกตั้ง" เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามความหมายของมาตรา ๑๙๗ () หรือไม่ ปรากฏ
ว่า ผู้ร้องได้ใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ร้องพิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า คณะกรรมการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งไม่เป็นบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ () เป็นการใช้อำนาจ
หน้าที่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ () แล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักทั่วไป
ที่ว่า ผู้ใดจะต้องใช้กฎหมาย ผู้นั้นย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยบทบัญญัติของกฎหมายนั้น
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
การที่ผู้ร้องใช้อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยไปแล้ว แสดงว่า ผู้ร้องไม่ได้มีความสงสัยว่า ตน
มีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ ประกอบกับการที่ พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ กับคณะ
โต้แย้งผู้ร้องนั้น ไม่ได้โต้แย้งในเรื่องอำนาจหน้าที่ว่า ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๙๗
() หรือไม่ แต่โต้แย้งว่า คำวินิจฉัยของผู้ร้องที่วินิจฉัยว่า คณะกรรมการสรรหากรรมการ
การเลือกตั้งไม่ใช่บุคคลตามมาตรา ๑๙๗ () นั้น เป็นคำวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นการ
โต้แย้งในผลของคำวินิจฉัย ดังนั้นเมื่อผู้ร้องใช้อำนาจไปแล้ว กรณีตามคำร้องที่ผู้ร้องขอให้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจวินิจฉัยว่า คณะกรรมการการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๗ ()
หรือไม่ จึงไม่ได้เป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ร้อง
ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังได้พิจารณาข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียง
ข้างมากจำนวน คน คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจิระ บุญพจนสุนทร นายจุมพล
สงขลา นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายผัน จันทรปาน นายมงคล สระฏัน นายศักดิ์ เตชาชาญ
นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ และนายอุระ หวังอ้อมกลาง จึงไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖
ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน คน คือ นายมานิต วิทยาเต็ม นายสุจิต บุญบงการ
พลตำรวจเอก สุวรรณ สุวรรณเวโช นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ และนายอมร
รักษาสัตย์ เห็นว่า เป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ร้องเกิดขึ้นแล้ว ทั้งมีการ
โต้แย้งการใช้อำนาจของผู้ร้องด้วย จึงเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ร้องซึ่ง
เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๔๖
(นายกระมล ทองธรรมชาติ) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
(นายจุมพล สงขลา) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายจิระ บุญพจนสุนทร) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายปรีชา เฉลิมวณิชย์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายผัน จันทรปาน) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายมงคล สระฏัน) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายมานิต วิทยาเต็ม) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายศักดิ์ เตชาชาญ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายสุจิต บุญบงการ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายสุธี สุทธิสมบูรณ์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(พลตำรวจเอก สุวรรณ สุวรรณเวโช) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายสุวิทย์ ธีรพงษ์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายอมร รักษาสัตย์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายอุระ หวังอ้อมกลาง) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น